การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มศีรษะรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง ด้วยเทคนิคการกระตุ้นเข็มด้วยมือและการกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

Main Article Content

ภาสกิจ วัณนาวิบูล
Patthranee Danaiswat
Suparata Kiartivich
Nattanant Noomhorm
Nopchira Wannawibool
Thamatat Chiaopromkun
Paramate Saepung
Thanyarat Paisanpanuwong
Uthai Silaphiphattham
Jaksana Wannawibool

บทคัดย่อ

อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบบ่อย การเยียวยารักษาส่วนใหญ่มักใช้ยาระงับปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
ซึ่งมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาทั้งในแบบเฉียบพลันและระยะยาว ปัจจุบันในประเทศไทยการฝังเข็มร่างกายเป็นการรักษาทางเลือกหนึ่งที่นิยมแพร่หลาย ส่วนฝังเข็มศีรษะมีการใช้กันน้อยมาก ข้อดีของการฝังเข็มศีรษะคือการสามารถ
รักษาผู้ป่วยได้ในหลายอิริยาบถ ใช้เข็มน้อย ใช้หรือไม่ต้องใช้เตียงก็ได้ และมีรายงานการวิจัยว่าสามารถรักษาหรือระงับอาการปวดได้ผลดี โดยทั่วไปเทคนิคการกระตุ้นเน้นการกระตุ้นด้วยมือเป็นหลัก ต้องอาศัยความชำนาญ การฝึกฝนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มศีรษะด้วยการกระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากับการกระตุน้ ดว้ ยมือ โดยใช้การทดลองแบบสุ่ม รวม 40 คน ทำการเก็บบันทึกข้อมูลการรักษา กลุม่ ที่กระตุ้นด้วยมือเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน และกลุ่มที่กระตุ้นด้วยไฟฟ้าเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คน ใช้การประเมินผลข้อมูลด้วยแบบสอบถามความปวดแบบแมคกิลล์แบบย่อ (Short-form McGill Pain Questionnaire) และ Neuropathy Pain
Scale (NPS) และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ข้อมูลผลการรักษาทั้งสองกลุ่มสามารถลดอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญภายหลังการรักษาแต่ละครั้ง และพบว่าค่าเฉลี่ย (Mean) ก่อนการรักษาครั้งแรกและหลังการรักษาครั้งที่สามของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ 3.55 เมื่อเปรียบเทียบแบบเดียวกันของการรักษากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยต่างกันเท่ากับ
4.4 สรุปได้ว่าระดับความแตกต่างของผลการรักษารวม 3 ครั้งของการกระตุ้นทั้งสองวิธีได้ผลดีในการระงับปวดอย่าง
มีนัยสำคัญ แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มในทางสถิติ

Article Details

บท
Original Articles
Author Biography

ภาสกิจ วัณนาวิบูล

การศึกษา

- แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- พจ. (แพทย์แผนจีน) บทม. (โบราณเภสัช)
- ศึกษาแพทย์แผนจีนจากบรรพบุรุษ - ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ (๓๐ กว่าปี )
- ประสบการณ์ในการรักษาโรคแบบผสมผสาน (แผนจีน - แผนปัจจุบัน) มากกว่า 20 ปี

ตำแหน่งและการทำงานปัจจุบัน

- กรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนปี พ.ศ.๒๕๕๕ และ ๒๕๕๖ - ๒๕๖๐
- อุปนายกและเลขาธิการสมาคมแพทย์แผนจีนแห่งประเทศไทย
- ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิก สาขาวิชาการแพทย์ทางเลือก (แพทย์แผนจีน)
- อาจารย์ประจำคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
- อาจารย์พิเศษคณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
- อาจารย์พิเศษแพทย์แผนจีน สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์พิเศษสอนการฝังเข็มหลักสูตรแพทย์ฝังเข็ม แพทย์แผนปัจจุบัน สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
- แพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์จีน ผู้อำนวยการสามหลวงสหคลินิก
- อนุกรรมการวิชาชีพด้านกฎหมายและจรรยาบรรณ
- คณะทำงานด้านวิชาการการแพทย์แผนจีน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
- วิทยากร ผู้เชื่ยวชาญในคณะทำงานถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
ของกระทรวงสาธรารณสุข
- คอลัมนิสต์แพทย์แผนจีน นิตยสาร Health Channel, นิตยสารหมอชาวบ้าน, Health Cuisine
- วิทยากร บรรยาย ด้านการแพทย์แผนจีนตามสถาบันต่างๆ ภาครัฐและเอกชน

ผลงานทางด้านหนังสือ

1. คู่มือการแทงเข็ม
2. กินอยู่อย่างสมดุล
3. ลิ้นบอกโรค
4. การตรวจวินิจฉัยด้วยศาสตร์แพทย์จีน
5. คลินิกแพทย์จีน
6. ปรัชญาแนวคิดพื้นฐานการแพทย์ตะวันออก - ตะวันตก
7. คู่มือสมุนไพรจีนกับการรักษาทางคลินิก
8. นาฬิกาชีวิตกับวิถีสุขภาพ
9. รู้เลือกรู้ใช้ ๑๐๐ สมุนไพรจีน
10. กินกันป่วย
11. เพิ่มพลังชีวิตด้วยการนอนหลับ
12. ปรับสมดุลรักษาโรคด้วยแพทย์แผนจีน

References

Khongkhanoi K. Effectiveness of acupuncture treatment

for relieving muscle pain in patients with office

syndrome and their satisfaction to medical services

in out-Patient unit at Alternative Medicine Center.

Nonthaburi: Alternative Medicine Center, Depratment

of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry

of Public Health. 2017. (in Thai)

Sayawadee S, Amrit P. Clinical trials of acupuncture

treatment of back pain at Ayutthaya hospital and Banlat

hospital. The national Conference & Research Presen tation “Create and Development to Approach ASEAN

Community II”; 2005 Jun 18-19; Nakhonratchasima

College. Nakhonratchasima: Poster (in Thai)

Li HL, Lu H. Research progress of scalp acupuncture

treatment of stroke in recent ten years. China Journal

Rehabilitation Theory and Practice. 2005;11(6):451-2. (in

Chinese)

Zhou L. Clinical research progress of scalp acupuncture

in the treatment of stroke hemiplegia, Scalp acupuncture.

Journal of Hubei College of TCM. 2006;8(2)62-3. (in

Chinese)

Yen YK, Shinn JH, Tsai FL, Seong GK, Ching WH,

Fang PC. Trends in global acupuncture publications:

An analysis of the Web of Science database from 1988

to 2015. Journal of the Chinese Medical Association.

;80(8):521-5.

Zhang LL. Advances in clinical application of scalp

acupuncture. Journal of Clinical Acupuncture and

Moxibustion. 2010;26(6):68-71. (in Chinese)

Chen YH. Classification and characteristics of scalp

acupuncture theory system. Inner Mongolian Traditional

Chinese Medicine. 2013;34:68. (in Chinese)

Ye XF. Clinical application and research progress of

scalp acupuncture. World Journal of Integrated Traditional

Chinese and Western Medicine. 2007;2(8)490-2.

(in Chinese)

Cai C. Treatment of chronic back pain and neck

pain using scalp acupuncture: a case study. Journal

of the American Academy of Medical Acupuncture.

;18(1):24-5.