การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

Phaksachiphon Khanthong
Tipavan Saichuer
Arkom Thongbor
Jeeranun Limkongkawong

บทคัดย่อ

ตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชุมชนกึ่งเมืองที่กำลังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่เนื่องมาจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปจากในอดีต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และ  3) พัฒนาสุขภาวะในชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research; PAR)โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research; PAR) ในกลุ่มนักวิจัยอาสา จำนวน 21 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามการมีส่วนร่วม ซึ่งมีคำถามแบบเลือกตอบและคำถามปลายเปิดและกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 96 คน ใช้แบบสอบถามและแบบวัดผล ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แบบสังเกต แนวประเด็นสัมภาษณ์ และกรอบการถอดบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired samples t-test เพื่อเปรียบเทียบผลก่อนหลังการเข้าร่วมกิจกรรม  ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีในชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้สูงอายุที่ดีและการทำวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคฝ่ายโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียพัฒนากระบวนการเรียนรู้และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับมหัพภาค 2) กลุ่มผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพบางอย่าง เช่นการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นและรับประทานเค็มลดลง ทางด้านร่างกายพบว่าค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวในกลุ่มผู้สูงอายุนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนทางด้านจิตใจพบว่ามีสุขภาพจิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ 3) พบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตด้านสังคมจากระดับปานกลางสู่ระดับดี ข้อเสนอแนะการวิจัยต่อเนื่องก่อนศึกษาวิจัยเชิงทดลองควรมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำให้ทราบว่าภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านใดของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
Original Articles
Author Biographies

Phaksachiphon Khanthong, คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอุบลราชธานี 34000

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จังหวัดอุบลราชธานี 34000

ชมรมผู้สูงอายุบ้านเชือกตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี 34000

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนจังหวัดอุบลราชธานี 34000

Tipavan Saichuer, คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอุบลราชธานี 34000

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จังหวัดอุบลราชธานี 34000

ชมรมผู้สูงอายุบ้านเชือกตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี 34000

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนจังหวัดอุบลราชธานี 34000

Arkom Thongbor, คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอุบลราชธานี 34000

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จังหวัดอุบลราชธานี 34000

ชมรมผู้สูงอายุบ้านเชือกตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี 34000

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนจังหวัดอุบลราชธานี 34000

Jeeranun Limkongkawong, คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอุบลราชธานี 34000

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์จังหวัดอุบลราชธานี 34000

ชมรมผู้สูงอายุบ้านเชือกตำบลหนองขอน จังหวัดอุบลราชธานี 34000

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขอนจังหวัดอุบลราชธานี 34000

References

1. Aekplakorn W, Stolk RP,Suriyawongpaisal P, Neal B, Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, et al. for the InterASIA Collaborative Group. The prevalence and management of diabetes in Thai adults: the international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care. 2003;26(10):2758-63.
2. Aekplakorn W, Abbott-Klafter J, Khonputsa P, Tatsanavivat P, Chongsuvivatwong V, Chariyalertsak S, et al. Prevalence and management of prehypertension and hypertension by geographic region of Thailand: the Third National Health Examination Survey, 2004. Journal of Hypertension. 2008;26(2):191-8.
3. IDF clinical guidelines task force. Global guideline for type 2 diabetes. Brussels: International Diabetes Federation, 2012. 123 p.
4. Kosachunhanun N, Mongkolsomlit S, Plengvidhya N, Bunnag P, Krittiyawong S, Deerochanawong C, et al. Thailand diabetes registry project: glycemic control in Thai type 2 diabetes and its relation to hypoglycemic agent usage. Journal of the Medical Association of Thailand. 2006;89(Suppl 1):S66-71.
5. Baral-Grant Haque MS, Nouwen A, Greenfield SM, McManus RJ. Self-monitoring of blood pressure in hypertension: A UK primary care survey. Int J Hypertens 2012, 2012. doi:10.1155/2012/582068. Hindawi ID 582068.
6. Dunning T, Sinclair A, Colagiuri S. New IDF guideline for managing type 2 diabetes in older people. Diabetes Res Clin Pract. 2014;103(3):538-40.
7. Nong Lai Subdistrict (Tambon) Health Promoting Hospital (2012). Statistical data on population and the elderly, 2012. (in Thai)
8. Nong Khon Subdistrict (Tambon) Health Promoting Hospital (2012). Statistical data on population and the elderly, 2012. (in Thai)
9. Choowa C, Srigernyuang L, Meemon N, Marohabutr T. Globalization and AEC in the context of local traditional healers: a qualitative study of realities in Surin Province. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine. 2015;13(1):23-34.
10. Mahatnirunkul S, Tuntipivatanaskul W, Pumpisanchai W, Wongsuwan K, Pornmanajirungkul R. Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items). Journal of Mental Health of Thailand. 1998;5(3):4-15. (in Thai)
11. Mongkol A, Wongpiromsan Y, Tungsaree T, Hathapanum W, Romsai P, Jutha W. Research report on development and testing of Thai mental health indicators (Version 2007). Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Bangkok: Printing Press of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand, Limited, 2009. (in Thai)
12. Adthasit R, et al. Guidelines of health care for diabetes patients with traditional medical wisdom for health services. 2nd ed. Nonthaburi: WVO Office of Printing Mill, War Veterans Organization of Thailand; 2011. 164 p. (in Thai)
13. Adthasit R, Punyawattananukul A, Direk O, Srichai P, Panthong B. My family is aware of diabetes: Guidelines for learning and applying folk wisdom in self-care for diabetes patients and high-risk groups. 2nd ed. Nonthaburi: WVO Office of Printing Mill, War Veterans Organization of Thailand; 2011. 36 p.(in Thai)
14. Fuangchan A, Seubnukarn T, Jungpattanawadee D, Sonthisombat P, Ingkaninan K, Plianbangchang P, et al. Retrospective study on the use of bitter melon for type 2 diabetes at Dansai Crown Prince Hospital, Thailand. Srinagarind Medical Journal. 2007;24(4):332-8.(in Thai)
15. Nganlasom J, Suttitum T, Jirakulsomchok D, Puapairoj A. Effects of Centella Asiatica Linn. leaves and Garcinia Mangostana Linn. hull on the healing of dermal wounds in diabetic rats. 2008;23(4):402-7. (in Thai)
16. Petchdee S. Cardioprotective effects of garlic. KKU Veterinary Journal (Thailand). 2012;22(2),242-54. (in Thai)
17. Gloria YY, Ted JK, David ME, Russell SP. Systematic review of herbs and dietary supplements for glycemic control in diabetes. Diabetes care. 2003;26(4):1277-94.
18. Suksampan P, Limprasutr P, Othaganont P. The effect of supportive educative nursing system on self-care behaviors of hypertensive risk group. Journal of Nursing Science Naresuan University. 2008;2(Supplement): 52-64. (in Thai)
19. Suvitawat J. Elderly health promotion with food consumption according to body elements (tard jao ruean). Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine. 2013;11(2):162-169. (in Thai)
20. Pithaksa P, Salitool P. The association between Thai traditional medicine dhammanamai health promotion program and quality of life in diabetes patients in Kantharalak district, Si Sa Ket province. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine. 2012;10(1):43-51.(in Thai)
21. Jaitia S, Sanwong S. Evaluation of a folk science lesson on Lanna local rituals for health promotion in HIV/AIDS patients. Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine.2015;13(1):14-22.(in Thai)
22. Norris SL, Schmid CH, Lau J, Engelgau MM, Smith SJ. Self-management education for adults with type 2 diabetes: A mata-analysis of the effect on glycemic control. Diabetes Care. 2002;25(7):1159-71.