คุณภาพทางเคมีของแก่นมะหาด

Main Article Content

Duangpen Pattamadilok
Apirak Sakpetch
Prathom Thongsrirak
Sakwichai Ontong

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพทางเคมีของแก่นมะหาด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการตรวจเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีรงคเลขผิวบาง (Thin-Layer Chromatography; TLC) พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ และศึกษาปริมาณสารสำคัญในตัวอย่างแก่นมะหาด เมื่อนำแก่นมะหาด 1 กรัม มาสกัดด้วย เมทานอลแล้วนำไปตรวจเอกลักษณ์ด้วยวิธี TLC โดยใช้ silica gel GF254 เป็นวัฏภาคคงที่ และคลอโรฟอร์ม : เมทานอล 4:1 เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ นำไปตรวจสอบภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 254 และ 365 นาโนเมตร และพ่นด้วยน้ำยาพ่น Anisaldehyde-H2SO4 จะตรวจพบ oxyresveratrol ที่ Rf เท่ากับ 0.75 และการวิเคราะห์ปริมาณ oxyresveratrol ในแก่นมะหาดด้วยวิธี Ultra Performance Liquid Chromatography (UPLC) ได้ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งการเตรียมตัวอย่างโดยต้มสกัดผงแก่นมะหาด 300 มิลลิกรัม ในเมทานอล 50 มิลลิลิตร เป็นเวลา 60 นาที กรองและระเหยแห้ง นำสารสกัดที่ได้มาละลายกลับและปรับปริมาตรด้วย 50 % เมทานอล จนครบ 100 มิลลิลิตร นำสารละลายตัวอย่าง 3 ไมโครลิตร มาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง UPLC โดยใช้คอลัมน์ BEH C18, 2.1×50 มิลลิเมตร, 1.7 ไมโครเมตรและใช้ 20 % เมทานอล เป็น    วัฏภาคเคลื่อนที่ อัตราการไหล 0.7 มิลลิลิตร/นาที ตรวจวัดด้วยแสงอัลตราไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 326 นาโนเมตร การทดสอบความใช้ได้ของวิธีพบว่า calibration curve ของ oxyresveratrol มีความเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 0.06-0.42 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.9998 ค่าร้อยละของสารดังกล่าวที่ได้คืนกลับมา (% recovery) อยู่ในช่วง 95.75-100.36 % ปริมาณต่ำสุดที่ตรวจพบ (Limit of Detection:  LOD) และปริมาณต่ำสุดที่สามารถรายงานค่าเป็นตัวเลขได้ (Limit of Quantitation; LOQ) มีค่าเท่ากับ 0.005 และ 0.017 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ จากการศึกษาปริมาณ oxyresveratrol ในแก่นมะหาด จำนวน 10 ตัวอย่าง พบว่า ปริมาณสารดังกล่าวอยู่ในช่วง 0.64-13.67 % โดยน้ำหนัก ซึ่งแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละตัวอย่าง จึงแสดงให้เห็นว่า การควบคุมคุณภาพทางเคมีโดยการหาปริมาณสารสำคัญจึงเป็นสิ่งคัญยิ่ง ผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพของแก่นมะหาดต่อไป

Article Details

บท
Original Articles

References

1. Berg CC, Pattharahirantricin N, Chantarasuuuwan B. Moraceae. In: Flora of Thailand. Vol. 10, part 4: Bangkok: Prachachon Co. Ltd.; 2011. P. 489-91.
2. นันทวรรณ บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2542. หน้า 724-6.
3. Sambhandharaksa C, Ratanachai T. Pharmacognostical and phytochemical studies of Artocarpus lakoocha Roxb. J Natl Res Counc Thailand. 1962;3:245-55.
4. Sritularak B, De-Eknamkul W, Likhitwitayawuid K. Tyrosinase inhibitors from Artocarpus lakoocha. Thai J Pharm Sci. 1998;22:149-55.
5. Povichit N, Phrutivorapongkul A, Suttajit M, Leelapornpisid P. Antiglycation and antioxidant activities of oxyresveratrol extracted from the heartwood of Artocarpus lakoocha Roxb. Maejo Int. J. Sci. Technol. 2010;4(3):454-61.
6. Singhatong S, Leelarungrayub D, Chaiyasut C. Antioxidant and toxicity activities of Artocarpus lakoocha Roxb. heartwood extract. J Med Pl Res. 2010;4(10):947-53.
7. Palanuvej C, Issaravanich S, Tunsaringkarn T, Rungsiyothin A, Vipunngeun N, Ruangrungsi N, Likhitwitayawuid K. Pharmacognostic study of Artocarpus lakoocha
heartwood. J Health Res. 2007;21(4):257-62.
8. Maneechai S, Likhitwitayawuid K, Sritularak B, Palanuvej C, Ruangrungsi N, Sirisa-ard P. Quantitative analysis of oxyresveratrol content in Artocarpus lakoocha and “Puag-Haad”. Med Princ Prac. 2009;18:223-7.
9. ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก อภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร พีรธรรม เทียมเทียบรัตน์ สิริกาญจน์ ธนอริยโรจน์ ประถม ทองศรีรักษ์. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในมะหาด. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ปีงบประมาณ 2557.
10. Yokotsuka K, Okuda T. Light-induced isomerization of trans-resveratrol to cis-resveratrol in must and wine during fermentation and storage. J ASEV Jpn. 2011; 22(1):16-21.