การเทียบมาตรฐานปริมาตรทะนาน และผลที่มีต่อประสิทธิผลของยาเตรียม

Main Article Content

Witchayanee Panngam
Somchai Suriyakrai
Sakkrarn Sangkhamanon
Suppachai Tiyaworanant

บทคัดย่อ

ทะนาน” ที่ระบุในตำรายาไทยแต่โบราณนั้นมีความหมายแตกต่างจาก “ทะนานหลวง” ซึ่งมีขนาด 1 ลิตร ที่มีการกำหนดขึ้นมาในภายหลัง และ “ทะนานหลวง” นี้ถูกใช้ในการปรุงยาแทนทะนานแบบดั้งเดิม ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิผลของยาเตรียม การศึกษานี้เพื่อเทียบมาตรฐานปริมาตรที่ควรจะเป็นของทะนานตามคำนิยามเดิม และการศึกษาประสิทธิผลของตำรับยาทาสมานแผลแผนโบราณที่เตรียมโดยใช้ปริมาตรแบบทะนานดั้งเดิมที่ทำการเทียบมาตรฐาน (calibration) ขึ้นเปรียบเทียบกับทะนานหลวงโดยใช้หนูขาวพันธุ์  Sprague-Dawley เพศผู้ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผล การเทียบมาตรฐานปริมาตรทำให้ได้ค่าการแปลงหน่วย (conversion factor) ของค่าขนาดทะนานแบบดั้งเดิมไปสู่ปริมาตรในหน่วยมิลลิลิตรอยู่ที่ 1.548 สามารถคำนวณโดยการนำค่านี้ไปคูณตัวเลขที่ใช้ระบุขนาดทะนานตามแบบโบราณเพื่อให้ได้ปริมาตรในหน่วยมิลลิลิตร การประเมินประสิทธิผลของตำรับยาพบว่ายาน้ำมันที่เตรียมขึ้นจากการตวงเครื่องยาด้วยปริมาตรทะนานที่เทียบมาตรฐาน (NR119/78cv) ซึ่งใช้”ทะนาน 600” เทียบแล้วเท่ากับ 929 มิลลิลิตร และยาขี้ผึ้งที่เตรียมขึ้นจากการตวงเครื่องยาด้วยปริมาตรทะนานที่เทียบมาตรฐาน (WP255/2cv) ซึ่งใช้ ”ทะนาน 830” เทียบแล้วเท่ากับ 1,285 มิลลิลิตร มีประสิทธิผลดีกว่ายาเตรียมตำรับเดียวกันที่เตรียมด้วยการตวงตามปริมาตรทะนานหลวง

Article Details

บท
Original Articles
Author Biographies

Witchayanee Panngam, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

*วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

  • ภาควิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

Somchai Suriyakrai, *วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

*วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

  • ภาควิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

Sakkrarn Sangkhamanon, *วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

*วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

  • ภาควิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

Suppachai Tiyaworanant, *วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

*วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมแผนไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

  • ภาควิชาเภสัชเวทและพิษวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย 40002

References

1. Wichitmattra K. Tha-nan. The encyclopedia of Thai Royal Institute. 2nd ed. Bangkok: Rungsilp Karnphim; 1981. p. 8470-78. (in Thai)
2. Picheansoonthon C, Tiyaworanant S, Jirawongse V. The handbook of Thai traditional pharmacy, vol. 6: Pharmacy. Bangkok: Amarin; 2013. 422 p. (in Thai)
3. De La Loubère S. La Loubère’s archives of Siam. Sunt T. Komolboottra (Trans.). 3rd ed. Bangkok: Sripunya; 2009. 688 p. (in Thai)
4. Beechey D. Cypraea moneta Linnaeus. [Internet]. 1758 [cited 2016 Dec 11]. Available from: https://seashellsofnsw.org.au/Cypraeidae/Pages/cypraea_moneta.htm
5. Renaud ML. Observation on the behavior and shell types of Cypraea moneta (Mollusca, Gastropoda) at Enewetak, Marshall Islands. Pacific Science. 1976;30(2):147-58.
6. Division for the Protection of Thai Traditional and Indigenous Medical Knowledge. King Narai’s scripture of medical element, palm-leaf edition (Khamphi Thart Phra Narai , or Textbook of Phra Narai’s medicine). [Internet] 2012 [cited 2017 Aug 20]. Available from: https://ptmk.dtam.moph.go.th/book/คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ฉบับใบลาน.pdf (in Thai)
7. Traditional Medical School. Textbook of medicine on marble inscriptions of Wat Phra Chetuphon Vimolmangklararm (Wat Pho). Bangkok. [n.p.: n.p.; n.d.]. (in Thai)
8. Shigeyama M, Ohgaya T, Takeuchi H, Hino T, Kawashima Y. Formulation design of ointment base suitable for healing of lesions in treatment of bedsores. Chemical & Pharmaceutical Bulletin. 2001; 49(2):129-33.