การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้เทคนิค Rapid Upper Limp Assessment ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทอผ้าบ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

Main Article Content

สุนทรี สารางคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยใช้เทคนิค RULA และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการทำงานกับระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทอผ้าบ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยเทคนิค RULA และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson Correlation และ Spearman Rank Correlation ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%          


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบอาชีพทอผ้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.00 อายุมากกว่า  46 ปี ร้อยละ 50 สถานภาพสมรส ร้อยละ 78.00 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 88.00 ประสบการณ์ทอผ้า น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี ร้อยละ 72.00 ระยะเวลาทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 62.00  จากการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้เทคนิค RULA พบระดับความเสี่ยงสูงมาก (7 คะแนน) ในขั้นตอนการสืบหูก ร้อยละ 14.30 และขั้นตอนการทอผ้า ร้อยละ 62.50 การศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ขั้นตอนการทอผ้า อายุของผู้ทอผ้าและระยะเวลาทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  และขั้นตอนการค้นหูก  การทำงานท่าที่กล้ามเนื้อแข็งเกร็งคงที่เป็นเวลา 3 นาทีขึ้นไปมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)   จึงควรจัดท่าทางการทำงานให้เหมาะสม โดยปรับท่านั่งที่มีการก้มหลังหรือโน้มลำตัวไปข้างหน้าลดลง มีการเปลี่ยนอิริยาบถการทำงานและมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดความเสี่ยงทางการยศาสตร์ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพงษ์ ฤทธิ์น้ำคำ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2550). ปัญหาสุขภาพจากการทำงานและการดูแลสุขภาพจากกลุ่มอาชีพทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัย มข., 7(3), 83-97. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/gskku/article/view/23963

ทรงพล ต่วนเทศ. (2555). การศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

นริศ เจริญพร. (2543). การยศาสตร์ (Ergonomics). กรงเทพมหานคร: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

น้ำเงิน จันทรมณี,สสิธร เทพตระการพร และผกามาศ พิริยะประสาธน์. (2557). ปัญหาการปวดเมื่อยจากการทำงานของกลุ่มอาชีพการทอผ้าด้วยมือในเขตภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย.

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(24), 29-40. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/163770

นันทพร เมฆสวัสดิ์ชัย, ตรีอมร วิสุทธิศิริ และณัฐวุฒิ แดงสวัสดิ์. (2554). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายในการทำงานของแรงงานนอกระบบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารควบคุมโรค, 37(3), 151-159.

พัชรินทร์ ใจจุ้มและทัศนพงษ์ ตันติปัญจพร. (2561). ประสิทธิผลของการจัดโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์เพื่อลดอาการปวดเมื่อยหลัง และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังของคนงานทอผ้าด้วยมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 29-39. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/182344

มาโนช ริทินโย,อมรศักดิ์ มาใหญ่ และภรณี หลาวทอง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(4), 438-445. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563, จาก http://journal.msu.ac.th/index.php page=show_journal_article&j_id=2&article_id=2660

ยุพยง หมั่นกิจ และกติกา สระมณีอินทร์. (2561). การศึกษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ ตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 29-39. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563, จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/182411

ศิลปสุวรรณ พิมพ์พรรณ. (2544). การเฝ้าระวังทางสุขภาพ : ลักษณะท่าทางและวิถีการทำงานที่มีผลต่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุวภิช นิยมพันธุ์. (2557). การออกแบบและปรับปรุงการทำงานตามหลักการยศาสตร์ : กรณีศึกษาการทอผ้าไหมยกทอง หมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

สง่า ทับทิมหิน, ฐิติรัช งานฉมัง,ชาญวิทย์ มณีนิล และสุพรรณี ศรีอำพร. (2554). การประเมินภาวะสุขภาพและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าทอมือในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สงวน ธานี, สมจิตต์ ลุประสงค์, ยมนา ชนะนิลและระวีวรรณ เผ่ากัณหา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของสตรีทอผ้าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 177-185. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2563, จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/165245

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2560). ศิลปะการทอผ้าไทย. เล่มที่ 21 เรื่องที่ 3 สำหรับเด็กระดับกลาง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book /book.php?book=21&chap=3&page=t21-3-m.htm

สุนิสา ชายเกลี้ยง, ธวัชชัย คำป้อง และวรวรรณ ภูชาดา. (2560). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการสัมผัสปัจจัยการยศาสตร์ของแรงงานนอกระบบกลุ่มเย็บผ้าสำเร็จรูป. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(1), 99-111. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/88982

สุนิสา ชายเกลี้ยง และธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. (2554).การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยมาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(1), 35-40.

สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563, จาก http://www.smj.ejnal.com/e- journal/showdetail/? show_preview=T&art_id=1644

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560).แบบประเมินความเสี่ยงอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://odpc5.ddc.moph.go.th/

อรณิชา ยมเกิด, ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา และนิวิท เจริญใจ. (2558). การปรับปรุงท่าทางการนั่งทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมตีมีดด้วยหลักการยศาสตร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(3), 10-20. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563, จากhttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/22_3/2Onnicha.pdf

Albert, J.W., Currie-Jackson, N., & Duncan, A.C. (2008). A survey of musculoskeletal injuries amongst Canadian massage therapists. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 12(1), 86-93. Retrieved January, 10, 2021, form https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1360859207000393?via%3Dihub

Dianat, I. & Karimi, M.A. (2016). Musculoskeletal symptoms among handicraft workers engaged in hand sewing tasks. Journal of occupational health, 58, 644-652. Retrieved November, 20, 2020, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5373915/pdf/1348-9585-58-644.pdf

Dianat, I., Kord, M., Yahyazade, P., Karimi, M. A., & Stedmon, A. W. (2015). Association of individual and work-related risk factors with musculoskeletal symptoms among Iranian sewing machine operators. Applied Ergonomics, 51,180 -188. Retrieved January, 10, 2021, form https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0003687015000782?via%3Dihub

Dianat, I. & Salimi, A. (2014). Working conditions of Iranian hand-sewn shoe workers and associations with musculoskeletal symptoms. Ergonomics, 57(4), 602-611. Retrieved November, 20, 2020, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24588329

Hossain, A., Kamrujjaman, M., & malleque, A. (2018). Associated Factors & Pattern of Musculoskeletal Pain among Male Handloom Weavers Residing in Belkuchi, Shirajganj: A Cross Sectional Study International Journal of Scientific & Engineering Research, 9(10), 1447-1451. Retrieved January, 10, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/332303100

Naz, H., Kwatra, S. & Ojha, P. (2015). Prevalence of musculoskeletal disorders among handloom weavers of Uttarakhand: an ergonomic study. Journal of Applied and Natural Science, 7(1), 102-105. Retrieved November, 20, 2020, from https://journals.ansfoundation.org/index.php/jans/article/view/571/529