จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการ (Publication Ethics) |
จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor) |
1. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ |
2. บรรณาธิการต้องปกปิดข้อมูล/ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาทราบ |
3. บรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพของบทความที่ส่งเข้ามาเพื่อขอตีพิมพ์ และบทความที่ส่งเข้ามานั้น จะต้อง |
เป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน |
4. บรรณาธิการต้องพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือได้ |
5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบในเรื่องการคัดลอกผลงานของผู้อื่นอย่างเคร่งครัด หากตรวจพบว่า มีการคัดลอก |
ผลงานของผู้อื่นจะต้องระงับการประเมินในทันที และติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอปฏิเสธการตีพิมพ์ |
6. บรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ หากตรวจพบว่า |
มีการลอกเลียนบทความของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งการกระทำดังกล่าว |
สมควรถูกถอดถอนบทความ ถึงแม้ว่าผู้นิพนธ์จะมีการปฏิเสธถอนบทความเองก็ตาม |
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer) |
1. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และบรรณาธิการ |
2. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความต้องปกปิดข้อมูล/ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ |
ตั้งแต่ช่วงของการตอบรับพิจารณาประเมินบทความ จนถึงช่วงที่บทความนั้น ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว |
3. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความควรพิจารณาตอบรับพิจารณาประเมินบทความเฉพาะสาขาวิชาที่คนเอง |
มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น |
4. หากการพิจารณาประเมินบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความพบว่า ส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน |
หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่น ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ |
จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author) |
1. ผู้นิพนธ์มีหน้าที่ต้องพิจารณาว่าบทความของท่านเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง |
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิ ศักดิ์ศรี สุขภาวะของคน รวมถึงความปลอดภัยหรือไม่ หากเป็นการศึกษาวิจัย |
และทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลองกองบรรณาธิการขอให้ผู้นิพนธ์แนบหนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัย |
ในคนหรือสัตว์ทดลองด้วย ทั้งนี้การพิจารณาบทความให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณา |
ของกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด |
2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ส่งบทความต้นฉบับซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น |
3. บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งให้วารสารพิจารณานั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่เคยผ่านการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใด |
หรือช่องทางใดมาก่อน |
4. ผู้นิพนธ์ต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของวารสารก่อน ว่าบทความของผู้นิพนธ์นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ |
วารสารที่กำหนดไว้หรือไม่ |
5. ผู้รับผิดชอบบทความหรือผู้นิพนธ์ต้องระบุชื่อผู้ร่วมทำบทความ (ที่ดำเนินการจริง) ให้ครบทุกคน |
6. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ระบุข้อความอันเป็นเท็จ ข้อความที่ปลอมแปลง และข้อความที่มีการบิดเบือนข้อมูลลงในบทความ |
7. ผู้นิพนธ์ต้องใช้ Template การเขียนบทความ และ Template การเขียนอ้างอิงตามที่วารสารกำหนด และต้อง |
ตรวจสอบหัวข้อของการเขียนบทความให้ถูกต้อง และครบถ้วน |
8. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกบทความต้นฉบับของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง |
9. เมื่อผู้นิพนธ์มีการนำเนื้อหา รูปภาพ หรือตาราง ส่วนใดส่วนหนึ่งของผลงานผู้อื่นมาเขียนในบทความของตนเอง |
ผู้นิพนธ์จะต้องมีการเขียนอ้างอิงผลงานของผู้อื่นให้ครบถ้วน ทั้งการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา และการเขียนอ้างอิง |
ท้ายบทความ |
10.ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัย (ถ้ามี) และ/หรือหากมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความ |
รวมทั้งต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบด้วย |