ปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มอาชีพการทอผ้าด้วยมือในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

น้ำเงิน จันทรมณี, วท.ม. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
สสิธร เทพตระการพร, Ph.D. (Public Health)
ผกามาศ พิริยะประสาธน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำารวจเพื่อศึกษาปัญหา การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำางานในกลุ่มทอผ้าด้วย มือ 3 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่มทอผ้าดั้งเดิม กลุ่มทอผ้ากี่กระตุก กลุ่มทอผ้าตีนจก ดำาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน ในเขตภาคเหนือตอนบนจำานวน 105 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินระดับการปวดเมื่อย แบบ 10 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็น เพศหญิง อายุเฉลี่ย 57 ปี ปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการทำางานของกลุ่มอาชีพการทอผ้าด้วยมือ มีความชุก ของอาการปวดเมื่อยมากที่สุดที่กล้ามเนื้อไหล่ขวา และ มีคะแนนปวดเมื่อยมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อไหล่ขวา เช่นเดียวกัน โดยผู้ที่ทอผ้าตีนจกมีคะแนนปวดเมื่อยกล้าม เนื้อคอและศีรษะมากกว่าการทอผ้าชนิดอื่นอย่างมีนัยสำาคัญ ทางสถิติ (p<0.001) และในกี่ทอผ้าดั้งเดิมมีคะแนนการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังส่วนบนน้อยกว่าการทอผ้าชนิดอื่นอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p<0.001) หากสรุปคะแนนการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายพบว่า การทอผ้า ตีนจกมีคะแนนสูงที่สุด รองลงมาเป็นการทอผ้ากี่กระตุก และการทอผ้าดั้งเดิม ตามลำาดับ และพบว่า การทอผ้าตีนจก มีคะแนนปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งหมดมากกว่าการทอผ้า ดั้งเดิมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p<0.001) ดังนั้นควรมี การออกแบบสถานีงานทอที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้ทอโดยให้ ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย