การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ปารินันท์ คงสมบูรณ์
วรวุฒิ ขาวทอง
สมศรี เขียวอ่อน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ในระบบส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 67 คน และผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อฯ ก่อนและหลังพัฒนา กลุ่มละ 78 คน การศึกษามี 4 ระยะ (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2)พัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อฯ (3) นำระบบการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อฯไปใช้ (4) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบประเมินความรู้และทักษะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อ (2) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวทางการปฏิบัติ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที


                 ผลการศึกษา พบว่า (1) ระบบการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อฯ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1.1 ด้านกระบวนการ คือ แนวทางปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล 1.2 ด้านบุคลากร คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในระบบส่งต่อ และ 1.3 ด้านผู้ป่วย คือ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลและแบบบันทึกทางการพยาบาล (2) ผลลัพธ์ของการพัฒนา พบว่า ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 4.66, SD .26) ความรู้และทักษะการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อ หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) ความเหมาะสมของการดูแลระหว่างนำส่งหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพระหว่างการส่งต่อหลังการพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .01

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

References

Sub-Committee on Development and Preparation of Referral Guidelines. Guidelines for developing a referral system for patients. Nonthaburi: Public Health Administration Division, Ministry of Public Health; 2019. Thai.

Urden LD, Stacy KM, Lough ME. Thelan’s Critical Care Nursing: Diagnosis and management. St. Louis: Mosby; 2010.

Wilcox SR, Wax RS, Meyer MT, et al. Interfacility transport of critically ill patients. Critical Care Medicine.2022; 50(10):1461-76.

Parinun Khongsomboon, Worawut Khowtong, Somsri Kheaw-on. Quality of nursing care during the interfacility patient transfer in Nakhonsawan. Journal of Public Health Nakhon Sawan. 2018; 4(3): 36-46. Thai.

Van Lieshout EJ, Binnekade J, Reussien E, et al. Nurses versus physician-led interhospital critical care transport: a randomized non-inferiority trial. Intensive Care Med. 2016; 42(7):1146-54.

Kannapatch Srithong, Siriorn Sindhu, Napaporn Wanitkun, Chukiat Viwatwongkasem. Incidence and risk factors of clinical deterioration during inter-facility transfer of critically ill patients; a cohort study. Archives of Academic Emergency Medicine. 2020; 8(1), e65.Thai.

Taratep C, Boonjaiyai G, Nariukon S, et al. Service delivery system in Thailand: problems and lessons learned. Nonthaburi: Health Systems Research Institute. Ministry of Public Health; 2015.

Donabedian A. The quality of care: How can it be assessed. Journal of American Medical Association. 1988; 260(1):1743-8.

The Faculty of Intensive Care Medicine. Guidance on: the transfer of the critically ill adult. Intensive Care Society. 2021.

Alabdali A, Trivedy C, Alijerian N, Kimani PK, & Lilford R. Incidence and predictors of adverse event and outcomes for adult critically ill patients transferred by paramedics to a tertiary care medical facility. J Health Spec. 2017; 5(4): 206.

Droogh JM, Smit M, Absalom AR, Ligtenberg JJM & Zijlstra JG. Transferring the critically ill patient: are we there yet? Critical Care. 2015; 19(1): 62.