ผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ในโรงพยาบาลมุกดาหาร

Main Article Content

สมพิศ เหง้าเกษ
ฉันทนา รุ่งเรือง
กาญจนา วงศ์อินตา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ดำเนินการ 4 ขั้นตอน: (1) วิเคราะห์สถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบ (3) นำรูปแบบไปทดลองใช้ และ (4) นำรูปแบบไปใช้จริงและประเมินผลลัพธ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 123 คนแบบเจาะจง แบ่งเป็น (1) พยาบาลวิชาชีพ 63 คน (2) ผู้ป่วย 30 คน และ(3) ผู้ดูแล 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล: (1) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ (2) แบบทดสอบความรู้พยาบาลวิชาชีพ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล (4) แบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์การใช้รูปแบบ และ (5) แบบประเมินความรู้ความสามารถของผู้ดูแล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .80, .78, .89, .89 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบที


ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ห้องฉุกเฉิน และ (2) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลของหอผู้ป่วยใน  การประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ พบว่า พยาบาลผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean 4.09, SD .45) พยาบาลผู้ปฏิบัติมีความรู้หลังการพัฒนารูปแบบสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p .00) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean 4.10, SD .49) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนวันนอนโรงพยาบาล และค่ารักษาพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า หลังใช้รูปแบบจำนวนวันนอนโรงพยาบาลและค่ารักษาพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p .012 และ p .013 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Swing Panjaisi, Nakhonchai Pueanpathom, Kulapat Wirasan. Clinical Practice Guidelines for Hemorrhagic Stroke. Bangkok: Thanapress Ltd.; 2013. Thai.

Department of Medical Services. Standard Stroke Center; 2018. Thai.

Ajaya Kumar A. Unnithan, Parth Mehta. Hemorrhagic Stroke. [cited 2022 February 25] Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32644599/

Somwang Rojana. The development of a nursing care model for hemorrhagic stroke patients from hypertension. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing 2020;31(2): 205-221. Thai.

Health Data Center (HDC) Ministry of Public Health. Information System, Mukdahan Provincial Public Health Office [Internet]. [cited 2021 March 25] Available from: http://hdcservice.moph.go.th

Charoonlux Pongcharoen, Rosarin Wanjirawilai, Rungnipa Changthong, Sameena Suwanprateep and Umakorn Maneewong. Effects of The Multidisciplinary Care Model Development for Hemorrhagic Stroke Patient. Journal of Nursing, Public Health, and Education. 2020: 21(2): 91-105. Thai.

Pedchara Promchan. The Development of Discharge Planning Model For Intracerebral Hemorhage Patient Undergone Surgery by Multidisciplinary Team Neuro Surgical Department Udornthani Hospital. [An Independent Study Report Submitted for the Master of Nursing Science in Nursing Administration]. Khon Kaen University; 2009. Thai.

Suree Krongthong, Sasithorn Krajaiklang, Nongluk Surason and Sunanya Phromtuang. Development of STEMI Fast Track Service Model. Medocal Journal of Srisaket Surin Burirum Hospitals. 2018: 33(1): 45-60. Thai.

Yuwadee Phongsa. Results of the development of model for stroke

Patients care Sirindhorn Hospital Khon Kaen Province. Journal of Khon Kaen Provincial Public Health Office. 2020;2:139-253.Thai.