การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด 30 คน กับผู้ป่วย 20 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – มกราคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์การสนทนาแบบกลุ่ม 2) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 3) แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และ 4) ประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ มีดัชนีความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เท่ากับ .91 และ.92 ตามลำดับ และสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ประกอบด้วย 1) การกำหนดบทบาทหน้าที่ของพยาบาล 2) นโยบายชัดเจน 3) คณะทีมทำงาน 4) ระบบพี่เลี้ยง 5) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยฯ 6) ระบบการลงบันทึกข้อมูล 7) ระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง หลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม พยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจและมีการปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
References
Kingkaew P, Maleewong U, Ngarmukos C, et al. Evidence to inform decision markers in Thailand: a cost-effective analysis of screening and treatment strategies forpostmenopausal osteoporosis. Value Health. 2012;15(1):20–8. Thai.
Chariyalertsak S, Suriyawongpisal P, Thakkinstain A. Mortality after hip fractures in Thailand. Int J Orthop. 2001;25(5):294–7. Thai.
Khanthanon A. Nursing care of elderly’s fracture neck of femur with chronic disease: case study. Region 11 Medical Journal. 2013;7(2):271-80. Thai.
Liuponwa
nich P, Pakpienpairot C, Leechawengwong S. An integration approach in prevention and treating refractures from osteoporosis. Journal of the Department of Medical Services. 2015; 40(4):16-9. Thai.
Lerdsin Hospital. Surgery Statistics 2018-2021. 2021;2(2):51-9. Thai.
Yos Khiewamorn. Incidence and factors associated with 1-year mortality in elderly hip fracture patients underwent hip surgery at Chaophrayayommarat hospital. Region 4-5 Medical Journal. 2021;40(3):439-488. Thai.
Titler, M. G., Kleiber, C., Steelman, V, et al. The Iowa model of evidence-based practice to promote quality care. Critical care nursing clinics of North America. 2001;3(4):497-509.
Senuphai, W., Te-chato, P., & Damnoi, S. Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for the Acute ST Elevation Myocardial Infarction Patients in Emergency Department, Songklanagarind Hospital. Princess of Naradhiwas University Journal. 2019; 11(3):104–16.
Polit, Denise F., and Cheryl Tatano Beck. Nursing research: Principles and methods. Lippincott Williams & Wilkins.: 2004.
Charunee Tungjaipakdee. Nursing care of hip replacement surgery patients in recurrent hip dislocation: a case study 2018. Hua Hin Sukjai Klai Kangwon Journal. 2020;3(1):7-12. Thai.
Folsom, A. J., Kenney, L., Tihista, M, Operative Management of Geriatric Hip Fractures: An Evidence-Based Note Template Journal of Orthopaedic Business. 2023;3(1):15-30.
Pattana Prommanee, Yupin Pitayavatanachai ,Jeerasak Tappha. Concepts of satisfaction and construction of job satisfaction. Questionnaire academic journal of the association of private higher education institutions of Thailand (APSC). 2020;26(1):59-66. Thai.