การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบการบริการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 โรงพยาบาลหาดใหญ่ สงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบการบริหารจัดการระบบการบริการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด19 มี 3 ระยะ (1) ศึกษาสถานการณ์ (2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการฯ (3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม คือ พยาบาลระดับบริหาร 12 คน พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน 65 คน และ ผู้ป่วยโควิด 19 และญาติ 20 คน เครื่องมือการวิจัย (1) คู่มือการบริหารจัดการระบบการบริการ (2) แผนการดูแลผู้ป่วยโควิด19 ที่มีการติดเชื้อที่ปอด (3) แบบเก็บรวบรวมข้อมูล 5 ชุด ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่า CVI เท่ากับ 0.8 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90, 0.90, 0.96, 0.80 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ Chi-Square test
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการฯ มี 2 แบบ คือ (1) ในสถานการณ์ปกติ เป็นการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ในหอผู้ป่วยวิกฤติใช้เครื่องช่วยหายใจ (CICU) มีระยะก่อนวิกฤต ระยะขณะวิกฤต และระยะหลังวิกฤต (2) ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยวิกฤติโควิด 19 ในระยะเตรียมการ ระยะปฏิบัติการ และระยะสิ้นสุด ผลลัพธ์หลังการใช้รูปแบบ พบว่า องค์กรมีความพร้อมในการบริหารจัดการในสถานการณ์การระบาดผู้ป่วยโควิด 19 พยาบาลระดับบริหารและพยาบาลผู้ปฏิบัติงาน มีความพึงพอใจ รับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 และภาวะหมดไฟในการทำงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ผู้ป่วยโควิด 19 มีความคิดเห็นต่อรูปแบบฯ อยู่ในระดับดี (Mean 4.80, SD 0.41) มีความรู้และความสามารถในการจัดการในระดับดี (Mean 4.15, SD 0.45)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Reference
Department of Disease Control Division of General Communicable Diseases. Surveillance, Prevention and Control Covid-19 Guideline for medical and Public Health provider. Nonthaburi: Division; 2564
Hatyai Hospital. Statistics data of Covid-19 patients in CICU ward Hatyai Hospital. Songkhal: Hospital;2565.
Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors Associated With Mental Health Outcomes Among Health Care Workers Exposed to Coronavirus Disease 2019. JAMA Netw Open. 2020; 3(3):e203976. doi:10.1001/jamanetworkopen.2020.3976
Teeraporn Sathira-Angkura, Sirima Leelawongs, Sasamon Srisuthisak, Somjai Puttapitukpol, Nichapa Yonchoho, Kanogporn Jamsomboon, Development of Nursing Administration Model in the COVID-19 Outbreak Situation of Hospitals under the Ministry of Public Health. Journal of Health Science. 2564;30(2):320-33.
Hajjar L.A, Costa IBSDS, Rizk SI, Biselli B, Gomes BR, Bittar CS, et al. Intensive care management of patients with COVID-19: a practical approach. Ann Intensive Care. 2021;11(1):36.
Teeraporn Sathira-Angkur, Sirima Leelawongs, Attaya Amonprompukdee A, Uraiporn Janta-Um-Mou, Driving the Operation of the Nurse Collaboration Center in COVID-19 Outbreak. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2564:22(1):83-91.
Sant Hatthirat S. Handbook for Disaster Management. Bangkok: Moh-Chao-Ban Publisher;2552
Teera KolladaRuengkrai, Hospital Business Continuity and Emergency Management. Bangkok: paliving;2562
Usa Kumprasit, Development of Nursing Model during the COVID-19 Outbreaks: In-Patient Department, Nonthai Hospital. Regional Health Promotion Center. 9.2022;16(1):30-44.
Jha AK, Kulkarni SG. Evolution of covid-19 management in critical care: review and perspective from a hospital in the United Kingdom. Acute Crit Care. 2021;36(1):1-14.
Tanaka H, Lee H, Morita A, Namkoong H, Chubachi S, Kabata H, et al. Clinical Characteristics of Patients with Coronavirus Disease (COVID-19): Preliminary Baseline Report of Japan COVID-19 Task Force, a Nationwide Consortium to Investigate Host Genetics of COVID-19. Int J Infect Dis. 2021; 113:74-81.