การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสกลนคร

Main Article Content

เปล่งฉวี สกนธรัตน์
ศศิธร ภักดีโชติ
ลักษคณา เจริญราษฎร์
วัลยดา อินธิแสง
ปิยรัตน์ โสมศรีแพง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561- เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 31 คน และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง 52 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง แบบประเมินสมรรถนะ แบบนิเทศการปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-square


ผลการศึกษา พบว่า  รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มี 2 ส่วน คือ 1.1 การประเมินความเสี่ยงและสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในหญิงตั้งครรภ์ และ 1.2 การพยาบาลในระยะฝากครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด 2) สมรรถนะการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง 10 สมรรถนะ และ 3) แนวทางการนิเทศทางคลินิก ผลลัพธ์ภายหลังการใช้รูปแบบ ด้านผู้รับบริการ พบ อัตราการเกิดอุบัติการณ์ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงต่ำกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ไม่พบอุบัติการณ์ย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผน และอาการเป็นพิษจากแมกนีเซียมซัลเฟต  ด้านผู้ให้บริการ พบ พยาบาลวิชาชีพมีสมรรถนะด้านความรู้สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ด้านทักษะผ่านตามเกณฑ์ ร้อยละ 95.28 และปฏิบัติตามรูปแบบได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 92.82

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

References

Siraya Kitiyodom. Effective Management of Preeclampsia Care Map (PCaM) in a Tertiary Referral Hospital. Medical journal of Srisaket Surin Buriram hospital 2018; 33(3);347-58. Thai.

Kiattisak Kongwattanakul, Piyamas Saksiriwuttho, Sukanya Chaiyarach, Kaewjai Thepsuthammarat. Incidence, characteristics, maternal complications, and perinatal outcomes associated with preeclampsia with severe features and HELLP syndrome. International Journal of Women’s Health. 2018;10:371-77. Thai.

Abalos E, Cuesta C, Carroli G, et al. Pre-eclampsia, eclampsia and adverse maternal and perinatal outcomes: A secondary analysis of the World Health Organization Multicountry Survey on Maternal and Newborn Health. BJOG 2014;121(Suppl 1):14-24.

Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D.2018. Thai.

Labour Unit, Sakon Nakhon Hospital. Annual Statistical Delivery Report A.D.2017. Thai.

Cole MF. A modified early obstetric warning system. BMJ. 2014; 22(12):862-68.

O'Gorman N, Wright D, Poon LC, et al. Multicenter screening for pre-eclampsia by maternal factors and biomarkers at 11-13 weeks’ gestation: Comparison with NICE guidelines and ACOG recommendations. Ultrasound Obstet Gynecol. 2017;49(6):756-60.

Narisa Wongpanara. King’s Theory: Concepts and Application in Nursing. Journal of Nurses’ association of Thailand, North-eastern Division. 2013;31(4):16-25. Thai.

Thailand Nursing and Midwifery Council. Professional Nursing and Midwifery Act (No.2) B.E.1997. Nonthaburi: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health; 1997. Thai.

Boonmee Phoodaangau, Apinya Jumpamool, Ratchatawan Sritragool. Competencies of the obstetric nurses in regional and general hospitals under the jurisdiction of Ministry of Public Health, Thailand. Journal of faculty of nursing, Khon Kaen university 2005;28(3):15-25. Thai.

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge; 2001.

Mahdjoubi D. Four Type of R&D. Austin,Texas: Research Associate,IC2 Institute; 2009.

Donabedian A. Selecting approaches to assessing performance: An introduction to quality assurance in health care. New York: The American University of Amenia Corporation; 2003.

Jintanaporn prasomsri, Sompan Hinsheranan, Sakoon Changmai. The consequences of nursing care pattern based on the King's theory of goal attainment on food consumption behaviors in chronic kidney disease patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis. Christian University of Thailand journal. 2012;18(1):68-83. Thai.

Singh A, Guleria K, Neelam B, Vaid NB, Jain S. Evaluation of maternal early obstetric warning system (MEOWS chart) as a predictor of obstetric morbidity: a prospective observational study. European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology. 2016;207:11-7.

Phartana Seetisan, Gunyadar Prachusilpa. The competency of diabetes nurse. Journal of the Police Nurses. 2018;10(2):253-61. Thai.

Phongpan Tana, Kanokrat Sangumpai, Suthisri Trakulsithichoke. Effects of Clinical Supervision on the Application of Nursing Process in Caring of Diabetic Patients and Nurses Satisfaction. Journal of Nursing and Health Care. 2018;35(4):52-60. Thai.