การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย Enoxaparin ต่ออาการไม่พึงประสงค์

Main Article Content

ชุลินดา ทิพย์เกษร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยา Enoxaparin ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลชลบุรี  ใช้แนวคิดของ  William Edwards Deming (PDCA) การดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาสถานการณ์และการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา Enoxaparin  ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางปฏิบัติฯ และการทดลองใช้ ระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้แนวทางปฏิบัติฯ ระยะเวลาในการศึกษาครั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2564 –  สิงหาคม  2564 กลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา Enoxaparin จำนวน 20 ราย และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 ราย เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน ดังนี้ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับยา Enoxaparin แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติฯ 20 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 7 ข้อ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .88, และ .88 ตามลำดับ 2. เครื่องมือที่ประกอบการใช้แนวปฏิบัติ ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการพยาบาลฯ มีทั้งหมด 2 หมวด ประกอบด้วย 1. หลักการบริหารยาให้ปลอดภัย 2. เทคนิคการฉีดยาให้ปลอดภัย  แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและการประเมินอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วย ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 0.9  และ0.88  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า การใช้แนวทางปฏิบัติฯ ประกอบด้วย หลักการบริหารยาให้ปลอดภัย จำนวน 10ข้อ และเทคนิคการฉีดยาให้ปลอดภัย  จำนวน 10 ข้อ ผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยา Enoxaparin   มีแนวโน้มลดลง  ความเป็นไปได้ในการใช้แนวทางปฏิบัติฯ คิดเป็น ร้อยละ 86.36  ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Hirsh J, Anand SS, Halperin JL, Fuster V. Guide to anticoagulant therapy: heparin, a statement for healthcare professionals from the American Heart Association. Circulation 2001; 103: 2994-3018.

Macie C, Forbes L, Foster GA, Douketis JD. Dosing Practices and Risk Factorsfor Bleeding in Patients Receiving Enoxaparin for the Treatment of an Acute Coronary Syndrome. CHEST. 2004;125,1616-2.

Besir, F. H., Gul, M., Ornek, T., Ozer, T., Ucan, B. & Kart, L. Enoxaparin-associated giant retroperitoneal hematoma in pulmonary embolism treatment. North American Journal of Medical Sciences, 2012,3(11): 524-526.

Arunee Sittihong, Nittayaporn Channakorn, Tassanee Daekhunthod, Development of a nursing network for STEMI patients with acute myocardial infarction in network hospitals, Sakon Nakhon Province [Internet]. 2012 [accessed October 13, 2020]. bunuliana: http://www.udo, moph.go.th/work_staff/r2r/data/CA0102. doc. Thai..

Lee, M. C., Nickisch, F. & Limbird, R. S. Massive retroperitoneal hematoma during enoxaparin treatment of pulmonary embolism after primary total hip arthroplasty: case reports and review of the literature. The Journal of Arthroplasty 2006; 21(8): 1209-1214.

Medical records, Chonburi Hospital, 2019. Thai..

Amphan Kadwilas, Rinrat Wangkawi, Amporn Yamsuan. Results of quality improvement to reduce problems from enoxaparin administration in wards of Mae Sot Hospital, Tak Province, 2006-2007. Sawanpracharak Medicine 2008; 5(3): 1-10. Thai.

Petchnoi S. Nursing research: Principles and processes. Songkhla: All-Blind Press.1992 .Thai.

Saengthai Triyong and team. Results of the development of anticoagulant injection techniques under the skin to bruises or blood clots in patients with coronary artery disease/obstruction Mukdahan Hospital [Research] 2011. Thai..

Potter, P.A., Perry, A.G. Fundamentals of Nursing. Concepts, Process and Practice (3rd ed.). Mosby Year Book, St. Louis, 1993;1685 -1695.