ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกรมการแพทย์

Main Article Content

สุรีย์พร กุมภคาม
สุวรรณี แสงมหาชัย
ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร
อุทัย เลาหวิเชียร

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดและทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกรมการแพทย์ โดยทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์และอิทธิพลของตัวแปร 4 ตัว ได้แก่ สิ่งแวดล้อมในการทำงาน สมดุลชีวิตและการทำงาน ความพึงพอใจในงาน และ ผลการปฏิบัติงาน  กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย  ได้แก่  พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล/สถาบัน สังกัดกรมการแพทย์ 7 แห่ง จำนวน 330 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แบบสอบถามสมดุลชีวิตและการทำงาน แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน และ แบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน


               ผลวิจัย พบว่า สิ่งแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงาน สมดุลชีวิตและการทำงาน และความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.30, 0.60 และ 0.54 ตามลำดับ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานโดยส่งผ่านสมดุลชีวิตและการทำงานและส่งผ่านความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.19 และ 0.29 ตามลำดับสมดุลชีวิตและการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการปฏิบัติงาน แต่ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม สมดุลชีวิตและการทำงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานโดยส่งผ่านความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.13 นอกจากนี้ สมดุลชีวิตและการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงกับความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.31 และความพึงพอใจในงานมีมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.40 และ ตัวแปรความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสามารถอธิบายแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 43.0

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

Uraiporn Janta-Um-Mou, Danulada Jamjuree, Sirima Leelawong. Assessment of job satisfaction, and

work-life balance of health personnel in the Ministry of Public Health. 2nd ed. Nonthaburi: Nursing

Division, Ministry of Public Health; 2011. Thai.

Krisada Sawaengdee. Research results show that Thai nurses are stressed by 50%. [Internet].2015

[cited 2018 Feb 3]; Available from: http:www.komchadluek.net/news/edu-health/200859.Thai.

Siwaporn Ongsri. Insecurity at work and low quality of life among nurses. [Internet].2018 [cited 2018

Feb 3]; Available from: http:www.komchadluek.net/news/edu-health/200859.Thai.

Darcy, C., Mccarthy, A., Hill, J., Grady, G. Work–life balance: One size fits all? An exploratory

analysis of the differential effects of career stage. Europea Management Journal. 2012; 30(2): 111-20.

Ma, H., A.L. Jiang.Literature review of nursing leadership. Chinese Nursing Management. 2007; 7(8):

-8.

Marcinkus, W. C., Whelan-Berry, K. S., Gordon, J. R. The relationship of social support to the work-

family balance and work outcomes of midlife women.2007.

Biswas, S. Psychological climate as an antecedent of job satisfaction & job involvement.The India

Journal of Industrial Relation. 2011; 46(3):465-77.

Yau-De Wang, C. Y., Kuei-Ying Wang. Comparing public and private employees' job satisfaction and

turnover. Public Personel Management. 2012; 41(3): 557-73.

.Lynch, P.D., Eisenberger, R., Armeli, S. Perceived organizational support: Inferior versus superior

performance by wary employees. Journal of applied psychology, 1999; 84(4):467- 83.

Aiken, L.H., Patricia, A.P. Measuring organizational traits of hospital: The revised nursing index.

Nursing Research. 2000; 49(3):146-58.

Hayman, J. Psychometric Assessment of an Instrument Designed to Measure Work Life

Balance. Research and Practice in Human Resource Management. 2005; 13(1):85-91.

Schnake, M.E. An empirical assessment of the effects of affective response in the measurement of

organizational climate. Personel Psychology. 1983; 36(4): 791-800.

Medical Department. Structure and organization chart. [Internet].2018 [cited 2018 February 5].

Available from: http:www.dms.moph.go.th. Thai.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. Aderson, R.E. Multivariate data analysis.7th ed. Upper Saddle River,

NJ: Prentice Hall; 2010.