การพัฒนาการพยาบาลทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการใส่สายสวน หลอดเลือดทางสะดือ (Umbilical Catheter)ใน NICU โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Main Article Content

วัชรี นรากุลรัศมี
สิริลักษณ์ ศรีเศวต

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การใช้โปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี  โดยใช้กรอบแนวคิด William Edwards Deming มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจสภาพปัญหา  2)  พัฒนาโปรแกรมและการศึกษานำร่อง และ 3)  ทดลองใช้โปรแกรม ซึ่งมี 2 ระยะ คือ ก่อนทดลองและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ  1) พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด 19 คน  2) ทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ 133 คน  เครื่องมือวิจัย  คือ  แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในทารกคลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบสังเกตการปฏิบัติ และแบบเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน  ค่าความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ        จำนวน 5 ท่าน (CVI) เท่ากับ .95 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ (KR-20) เท่ากับ .75 ค่าความเที่ยงของการสังเกตการปฏิบัติ (IRR) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ


ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลที่ได้รับการอบรมมีความรู้และมีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ เพิ่มขึ้นจาก 9.77  เป็น  16.74 ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกคลอดก่อนกำหนด ลดลงจาก 0.54 เป็น 0 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ และอัตราการเลื่อนหลุดของสายสวน ลดลงจาก 4.39 เป็น 0 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. Kannika Phetcharak, Utchaya Intharueang, Fontong Chitjumnong. The relationship between perception of preterm labor and prevention behavior among
woman of postpartum. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital. 2019;34(1):87-99. Thai.

2. Kelly MM. Primary care issues for the healthy premature infant. Journal of Pediatric Health Care. 2006; 20(5):293-9.

3. Stoll BJ, Hansen NI, Bell EF, et al. Neonatal outcomes of extremely preterm infants for the NICHD Neonatal Research Network. Pediatrics. 2010;126(3):443-56.

4. Esposito MR, Guillan A., Angelillo IF. Knowledge, attitudes and practice on the prevention of central line-associated blood stream infections among nurses in
oncological care: A cross-sectional study in an area of southern Italy. PLoS ONE. 2017;12(6):1-1.

5. Neonatal Critical Care Committee. NICU. Critical care report. Nopparatrajathanee Hospital. 2018. Thai.

6. Woodward B, Umbrager R. Review of best practices of CLABSI prevention and the impact of recent legislation on CLABSI reporting. SAGE open.
October-December. 2016;1-7.

7. Penchun Saenprasarn. Nursing Process and Document in Nursing. Bangkok: Sukhumvit Printing; 2017. Thai.

8. Deming WE. Out of the Crisis. USA: MIT Press; 1986.

9. Luan Saiyot, Angkhana Saiyot. Technigue Research Education. Bankok: Suwiriyasan Printing; 2010. Thai.

10. Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin of North Am.
2000;35(2):301-9.

11. Panida Kawinam, Tongpran Nguegngam, Srisuda Assawapalanggool. Effects of the development for promotional program for the implementation of
ventilator associated pneumonia prevention guidelines. Journal of Nursing Division. 2017;44(3):34-57. Thai.

12. Kotwal A, Taneja DK. Health Care Workers and Universal Precautions: Perceptions and Determinants of Noncompliance. Indian J of Community Med.
2010;35(4): 526-28.

13. Busaba Niakhon, Uraivan Kajachart. The relationship between supervision of head nurse the atmosphere in the Organization with the competence in the
performance of profession nurses Chaophaya Abhai phubejhr Hospital. Journal of Nursing Division. 2010;37(1):28-38.Thai.

14. Alcan AO, Korkmaz FD, Uyar M. Prevention of ventilator-associated pneumonia: Use of the care bundle approach. Am J Infect Control. 2016;44(10):e173-76.