การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการอาการปวด ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายด้วยสมาธิบำบัด SKT-8

Main Article Content

นิตยา ภูริพันธุ์
ดวงกมล ดีทองคำ
ปณิตา คุณสาระ

บทคัดย่อ

              การวิจัยเชิงพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการการจัดการอาการปวด สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายด้วยสมาธิบำบัด SKT-8  ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาของ บอร์กและกอลล์ เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาแนวปฏิบัติ  และใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติ AGREE II  ประเมินแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น แนวปฏิบัติที่พัฒนานี้ ประกอบด้วย การประเมินอาการปวด การเตรียมผู้ป่วย วิธีการปฏิบัติสมาธิบำบัด SKT-8 วิธีการประเมินผู้ป่วยหลังทำสมาธิบำบัด SK- 8 และการปฏิบัติตนของผู้ปฏิบัติก่อน-หลังทำสมาธิบำบัด SKT-8 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพที่เป็น Palliative Care Ward Nurse  40 คน และ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะท้ายและมีความปวดที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและวิเคราะห์ความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา paired t-test  และวิเคราะห์ความแตกต่าง ด้วย Wilcoxon Signed Rank test


                ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล  พบ ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <.001) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (mean = 4.42, SD =  0.33)  ความแตกต่างในค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยมะเร็งหลังใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลลดลงจากก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจและความสุขสบายของผู้ป่วยหลังได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติทางการพยาบาลอยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ (mean = 4.33, SD = 0.62 และ mean = 4.60, SD = 0.54)  แนวปฎิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นนี้  สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายได้  เกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งด้านพยาบาลผู้ให้บริการและผู้ป่วย ดังนั้น ควรนำแนวปฎิบัติดังกล่าว ไปใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายและผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. World Health Organization. World health statistics.[Internet]. 2012. [cited 2018 Oct 31]. Available from:
https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/70889/WHO_IER_HSI_12.1_eng.pdf?sequence=1

2. Strategy and Planning Division, Office of the Permanent Secretary. Public Health Statistics A.D.[Internet]. 2017. [cited 2018 Sep 05]. Available from:
http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf. Thai.

3. Ninmanat K. The end of life care. 1st ed. Songkla: Chan muang kanphim; 2012. Thai.

4. Phungrassami T. The End of Life Care. 2nd ed. Bangkok: Bangkok Wetchasan Printing House; 2017: 495–515. Thai.

5. Wimolphan P, Kumwan P, Kangsarigit N, Pingkasan K. The Development of Pain management Clinical nursing practice Guideline in the Cancer Patient. J Nurs
Educ [Internet]. 2012.[cited 2020 Apr 04];5(3): 2–15. Available from: https://he01.tcithaijo.org/index.php/JNAE/article/view/8754/7484. Thai.

6. Triamchaisri S.K. SKT Meditation Healing Exercise. 1st ed. Phitsanulok: TRAKOONTHAI PRINTING; 2014. Thai.

7. Tiloksakulchai. F. Evidence-based Nursing: Principle and Method. 6th ed. Preone limited partnership; 2011. Thai.

8. Borg WR, Gall MD. Educational research: an introduction. 4th ed. New York: Longman Publishing Group;
1983: 936.

9. Sarakshetrin A, Ratchatarom B, Chantra R, Kallaka S. Nursing Interventions for Relief Pain in Cancer Patients: Meta-Analys. J R Thai Army Nurses. [Internet].
2014.[cited 2018 Sep 5];15(2):203–9. Available from: https://he01.tcithaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/25179/21439. Thai.

10. Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 8th ed. Wolter Kluwer Lippincott Williams & Wilkins; 2008: 602-
206.

11. Pearson A, Field J, Jordan Z. Evidence-based clinical practice in nursing and healthcare. [Internet]. 2007. [cited 2019 June 24]. Available from
https://researchonline.jcu.edu.au/2940/2/2940_ Pearson_et_al_2007_front_pages.pdf

12. KutragunR, Roungsri W, Namvongprom A, Yimyam P. Pain management symtem development in patients with advanced cancer. Jounal of nursing and health
care. 2018;1:189-97. Thai.