การพัฒนารูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยหนัก วัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร

Main Article Content

นิตยาภรณ์ จันทร์นคร
ทัศนีย์ แดขุนทด
อุไรวรรณ ศรีดามา
ปิยนุช บุญกอง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต สำหรับผู้ป่วยหนักวัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2560 – เดือนมีนาคม 2562 โดยใช้ระเบียบวิจัยของ Mahdjoubi (2009) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวหน้าพยาบาล หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลวิชาชีพ รวม 72 คน ผู้ป่วย 437 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย รูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต แนวทาง   การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกทบทวนเวชระเบียน แบบประเมินสมรรถนะพยาบาล แบบประเมินผลการนิเทศ และแบบประเมินความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ผลโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Wilcocxon Signs Ranks test และ Chi square test


ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวทางการประเมินผู้ป่วยวิกฤต มี 2 ระยะ คือ การประเมินแรกรับทันที โดยใช้เครื่องมือประเมินสัญญาณเตือนก่อนภาวะหัวใจหยุดเต้น และการประเมินผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องมือประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (2) การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิกฤตตามกรอบของเบนเนอร์ 7 องค์ประกอบ และ (3) การนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของพร๊อคเตอร์ 3 รูปแบบ มี 7 กิจกรรรม คือ การประชุมปรึกษาเชิงเนื้อหา การสอนแนะ การให้คำปรึกษา การประชุมปรึกษาการพยาบาล การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล การสังเกตการปฏิบัติ และการร่วมปฏิบัติงาน  ผลลัพธ์ภายหลังการพัฒนารูปแบบด้านผู้รับบริการ พบ อัตราการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น การเกิดภาวะช็อก และภาวะหายใจล้มเหลว ลดลงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ผลลัพธ์ด้านผู้ให้บริการ พบสมรรถนะของพยาบาลด้านความรู้ในการประเมินผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการพัฒนา (P<.05) มีทักษะในการประเมินร้อยละ 86.55 ผลการนิเทศ พบว่า ปฏิบัติตามรูปแบบร้อยละ 88.24 และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.53, SD=0.51).

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. Alam N, Hobbelink E L, van Tienhoven AJ, van de Ven P M, Jansma E P, Nanayakkara P W. The impact of the use of the Early Warning Score (EWS) on patient
outcomes: A systematic review. Resuscitation. 2014;85(5):587-94.

2. Quality center Sakon Nakhon Hospital. Annual Risk Report. Sakon Nakhon: Quality Center Sakon Nakhon Hospital; 2017.

3. Royal College of Physicians. National Early Warning Score (NEWS) 2 : Standardizing the assessment of acute-illness severity in the NHS. Updated report of a
working party. London: RCP; 2017.

4. Duncan K D., McMullan C, Barbara M Mills. Early warning signs. Nursing. 2012;42(2): 38-44.

5. Nishijma l, Oyadomari S, Maeomari S, et al. Use of a modified early warning score system to reduce the rate of in-hospital cardiac arrest. J Intensive care.
2016;4:12.

6. Brykczynski K A. Chapter 7 Benner’s Philosophy in Nursing Practice.In: Alligood M R,editors. Nursing Theory: Utilization & Application. 5th ed. St. Louis: Mosby
Elsevier;2014. p.118-137.

7. Suthasinee Pungfu. Development of specific competencies of professional nurses in caring for critically ill patients after laparoscopic surgery. Rajavithi
Hospital Journal of the Department of Medical Services. 2018;43(3):131-137. Thai.

8. Kanlaya Nookaew, Pongpissnu Boonda. Creation of Nursing Supervision Model of Tron Hospital, Uttaradit Province.The 1st National Conference Research and
Innovation Knowledge transformation towards Thailand 4.0. Chiang Rai : Mae FahLuang University. 2017:1-7.

9. Phongpan Tana, Kanokrat Sangumpai, Suthisri Trakulsithichoke. The effect of clinical supervision on the use of nursing processes in diabetic care and nursing
satisfaction. Journal of Nursing and Health Care. 2017;35(4):53-61. Thai.

10. Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention in fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001.

11. Sirichai Kanchanawasri. Research and development for Thai education. Silpakorn Educational Research Journal. 2016;8(2):1-18. Thai.

12. Smith ME, Chiovaro JC, O'Neil M, et al. Early Warning System Scores for Clinical Deterioration in Hospitalized Patients: A Systematic Review. Ann Am Thorac
Soc. 2014;11(9):1454-65.

13. Saengsom Chuaychang. The effect of the use of MEWS in assessing and monitoring symptoms of patients with cardiac catheterization,Trang Hospital. Journal
of Cardiology and Chest Nursing. 2561;29(1):72-83. Thai.

14. Camelo S.H.H. Professional competences of nurse to work in Intensive care unit: an integrative review. Rev. Latino-Am. Enfermagem. 2012;20(1):192-200.

15. Phongsri Supunpayop, Pornthip Sukadisai, Kannika Amphon. Development of nursing supervision model Nursing Division King Prapokklao Hospital. Journal
of Nursing and Education. 2013;6(1): 12-26. Thai.