การฟื้นฟูกลุ่มอาการภายหลังสมองกระทบกระเทือนในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ระดับเล็กน้อย: บทบาทพยาบาล

Main Article Content

เยาวรัตน์ เอมโอฐ

บทคัดย่อ

กลุ่มอาการภายหลังสมองกระทบกระเทือน  เป็นอาการที่พบได้ภายหลังสมองบาดเจ็บระดับเล็กน้อย  โดยปกติกลุ่มอาการจะหายได้เองภายใน 7-14 วัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการในระยะยาวได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ จำนวนครั้งของการได้รับบาดเจ็บที่สมองนอกจากนี้  กลุ่มอาการภายหลังสมองกระทบกระเทือนอาจขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังที่แพทย์จำหน่ายกลับบ้านการฟื้นฟูสภาพภายหลังสมองได้รับบาดเจ็บระดับเล็กน้อย  จะช่วยลดการเกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองกระทบกระเทือนในระยะยาวและช่วยลดจำนวนอาการ   ดังนั้น  พยาบาล จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย  ตั้งแต่รับผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับเล็กน้อยไว้ในโรงพยาบาล  จนกระทั่งจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน  โดยใช้กระบวนการพยาบาล  ดังนี้  1) การประเมินอาการของผู้ป่วยแรกรับและประเมินปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย   2) วินิจฉัยทางการพยาบาล  เพื่อประเมินอาการ ปัจจัยเสี่ยง และความรู้   3) ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล เพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูสภาพสมองให้แก่ผู้ป่วย เช่น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยพักผ่อนทั้งด้านร่างกาย และการใช้ความคิด การให้ความรู้ การจัดการอาการ และ 4) ประเมินผลการพยาบาล เช่นประเมินอาการ และความรู้ก่อนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. Choe MC. The pathophysiology of concussion. Curr Pain Headache Rep. 2016;20(6):42.

2. Kinoshita K. Traumatic brain injury: pathophysiology for neurocritical care. J Intensive Care. 2016;4:29.

3. Gardner RC, Yaffe K. Epidemiology of mild traumatic brain injury and neurodegenerative disease. Molecular and Cellular Neuroscience. 2015;66:75-80.

4. Åhman S, Saveman B-I, Styrke J, Björnstig U, Stålnacke B-M. Long-term follow up of patients with mild traumatic brain injury: mixed methods study. J Rehabil
Med. 2013;45(8):758-64.

5. Division of Non Communicable disease: Department of Disease Control; Ministry of Public Health. Trauma and mortality rate from road accident (Admitted.)
2009-2011 [Internet]. 2012 [cited 2019 May 10]; Available from: http://thaincd.com/document/file/info/injured

6. Hiploylee C, Dufort PA, Davis HS, Wennberg RA, Tartaglia MC, Mikulis D, et al. Longitudinal study of postconcussion syndrome: Not Everyone Recovers. J
Neurotrauma. 2017;34(8):1511-23.

7. Akin FW, Murnane OD, Hall CD, Riska KM. Vestibular consequences of mild traumatic brain injury and blast exposure: a review. Brain Injury. 2017;31(9):1188-
94.

8. Leddy JJ, Baker JG, Willer B. Active rehabilitation of concussion and post-concussion
syndrome. Phys Med Rehabil Clin N Am. 2016;27(2):437-54.

9. Broshek DK, De Marco AP, Freeman JR. A review of post-concussion syndrome and psychological factors associated with concussion. Brain Inj. 2015;29(2):228-
37.

10. Cruz L, Hrkal P, Meeder R, Clark D, Marshall C, Blanc S. What you need to know about concussion. Complete concussions management [Internet]. 2018 [cited
2019 May 10]; Available from: https://completeconcussions.com/drive/uploads/2018/12/CCMI-Concussion-Handbook-FINAL.pdf

11. McGinn MJ, Povlishock, JT. Pathophysiology of traumatic brain injury. Neurosurg Clin N Am. 2016;27(4):397-407.

12. Len TK, Neary JP. Cerebrovascular pathophysiology following mild traumatic brain injury. Clin Physiol Funct Imaging. 2011;31(2):85-93.

13. Mustafa GA, Al-Shboul AO. Pathophysiology of traumatic brain injury. Neurosciences. 2013;18(3): 222-34.

14. Eisenberg MA, Meehan WP, Mannix R. Duration and course of post-concussive Symptoms. Pediatrics. 2014;133(6):999-1006.

15. Morgan DC, Zuckerman LS, King LE, Beaird ES, Sills K.A, Solomon SG. Post-concussion syndrome (PCS) in a youth population: defining the diagnostic value and
cost-utility of brain imaging. Childs Nerv Syst. 2015;31:2305-9.