การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสมุทรสาคร

Main Article Content

สุรภีย์ อี๊ธงชัย
อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์
เมธารัตน์ เยาวะ

บทคัดย่อ

                   การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ และ ศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลด้านการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร วิธีการดำเนินงาน มี 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาปัญหาและสถานการณ์2) พัฒนาแนวปฏิบัติ 3) นำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 4) ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 111 คน และ ผู้ป่วย 502 คนที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสมุทรสาครระหว่างเดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาล “การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง” ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ แบบวัดความรู้เรื่องยาและการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาล แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล “การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง”ของพยาบาลวิชาชีพ และแบบติดตามและเฝ้าระวังการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้วย Content Validity Index ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.0


                       ผลการวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาล “การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง” ในโรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นการบริหารจัดการการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการให้ยา ระหว่างการให้ยา และหลังการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง การนำแนวปฏิบัติการพยาบาล “การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง” ไปใช้ ด้านผู้ให้บริการ พบว่า คะแนนความรู้ของพยาบาลหลังการใช้แนวปฏิบัติ สูงกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล “การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง” ของพยาบาลวิชาชีพทั้ง 3 ระยะอยู่ในระดับมากที่สุด และการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดด้านผู้ใช้บริการ พบความคลาดเคลื่อนทางยา จำนวน 8 อุบัติการณ์ แต่ผู้ป่วยไม่เกิดอันตราย และไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง

Article Details

บท
บทความการศึกษาวิจัย

References

1. Phongpan Chantanasombut, Nanthida Phanthusart and Sangrawee Maneesri.Clinical Risk Management of Registered Nurses. Journal of Nursing Science &
Health 2012; 35(3): 118-24. Thai.

2. Thida Ningsanon. Prevention of medicationerror. In: Thida Ningsanon, Suvatna Chulavatnatol, Preecha Montakantikul. Drug administration for patient safety,
3rd ed. Bangkok: Panna Banjupan; 2011. p. 7-25. Thai.

3. Institute for Safe Medication Practices (ISMP). High-Alert Medications in acute care setting. [internet]. 2018 [cited 2019 Dec12]. Available from
https://www.ismp.org/recommendations/high-alert-medications-acute-list

4. Nipul Kapadia, RavalSachinr, Parag Gadhave. Medication Errors Related to High Alert Medication. Journal of Nursing and Health Studies. 2017; 2(3):15. Thai.

5. Medication error statistics. Center for Quality and Safety Management. Samut-Sakhon Hospital. 2016 - 2018. Thai.

6. Fongcum Tilokskulchai. Evidence-based practice: principle and method. 6th ed. Bangkok: Faculty of Nursing, Mahidol University; 2011. p. 57-8. Thai.

7. Reviewers’ manual 2014 edition. [internet]. 2014 [cited 2019 Nov 1]. Available from: http://www.joannabriggs.org/assets/docs/sumari/reviewersmanual-
2014.pdf

8. Supranee Sriparawong. Development of Nursing Practice Guideline for High Alert Drugs In Chonburi Hospital. Journal of Nursing Division. 2018;45(3): 9-30.
Thai.

9. Sirirat Weerakitti, Boonroun Chumjam and Chintana Warapasakul. Nursing System Development for Risk of Medication Errors Protocol on Participation of
Nursing Model for Prevention Medication Errors Rate. Journal of Nursing Association of Thailand, North-Eastern Division. 2013; 31(2):25-34. Thai.

10. AmrZahe rRady Yousef, Warda Yousef Mohamed, Fatma Shoeib Ali, Essam Fouad Ali. Effect of Nursing Education Guidelines about High Alert Medications on
Critical Care Nurses Knowledge and Practices. IOSR-JNHS. 2018;(7):47-54.

11. Prakayrung Thontupthai and Kanittha Vorathongchai. Effects of a Professional Nurse Coaching Program on Adherence to Guidelines and Reduction of Error
Rates in the Administration of High Alert Drugs. Journal of Nursing and Health care. 2020; 38(1): 59-67. Thai.

12. Sudarat Sutharapan, Thanawan Sanpanya. Development of Nursing Practice Guideline for Prevention High Alert Drugs Administration in PHRAE Hospital.
Journal of Nursing Division .2009;36(3):76-95. Thai.

13. Nongnuch Hormaniam, Suchada Ratchukul. Effects of Using Medication Adminstration Evidence – based Practice on Incidence of Medication Errors and
Nurse’s Job Satisfaction Intensive Care Unit. Journal of nursing Science Chulalongkorn University. 2016;28(1):139-50. Thai.