ผลการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเอง ด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
คำสำคัญ:
สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, ความมั่นใจในตนเอง, ความพึงพอใจ, การรักษาโรคเบื้องต้นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความมั่นใจในตนเองด้านการรักษาโรคเบื้องต้นก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความมั่นใจในตนเองด้านการรักษาโรคเบื้องต้นและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .67-1.00 ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .96, และ .94 วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
1. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจในตนเองด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา หลังการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (µ=18, σ=0.36) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียนการสอน (µ=3.78, σ=0.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. ระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.41) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านประโยชน์ที่ได้รับมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (µ=4.46, σ=0.48) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (µ=4.45, σ=0.46) และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ (µ=4.41, σ=0.48)
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ควรนำการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงนี้ ไปใช้ไปในการสร้างความมั่นใจในตนเองด้านการรักษาโรคเบื้องต้น และพัฒนาทักษะในการรักษาโรคเบื้องต้นแก่นักศึกษาต่อไป
ถอนบทความเนื่องจาก :(ผู้นิพนธ์ขอถอนบทความเนื่องจากช่วงเวลาเก็บข้อมูลไม่สอดคล้องกันกับจริยธรรมวิจัย)
References
Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. (2017). Bachelor of Nursing Science Program (Improve Curriculum for 2017). Songkhla: Boromarajonani College of Nursing. (In Thai)
Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. (2021). Meeting Report Curriculum Management Committee No. 4/64. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing. (In Thai)
Boromarajonani College of Nursing Songkhla. (2021). Course Syllabus: Primary Medical Care Practicum. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing. (In Thai)
Buadong, D., Granger, J., Punyoo, J., & Jongaramraung, J. (2017). Satisfaction with and Self Confidence in Nursing Care for Pediatric Patients with Heart Failure among Nursing Students after Attending High Fidelity Simulation. Rama Nurse Journal, 26(3), 385-340. (In Thai)
Chubkhuntod, P., Thasanoh Elter, P., Gaewgoontol, N. & Potchana. R. (2020). Effects of Simulation Based Learning Model on Knowledge, Self-Efficacy and Abilities of Applying Nursing Process Skills during Intrapartum Care of Nursing Students. Journal of Health Science, 29(6), 1062-1072. (In Thai)
Kaewsawat, S., Aubdulla, O. & Keawhuai, N., (2020). Quasi-Experimental Research: Routine to Quasi-Experimental Research for Public Health Technical Officer. Health Education Professional Association, 35(1), 30-39. (In Thai)
Khammani, T. (2007). Pedagogical Sciences: Knowledge for effective Organization of Learning Process (14th Edition). Bangkok: Darn Sutha Press Company Limited. (In Thai)
Khumsuk, W. & Nillapun, M. (2021). Simulation-Based Learning. Journal of Council of Community Public Health, 3(1), 1-11. (In Thai)
Kowtragool, S. (2008). Educational Psychology (7th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)
Mahaprom, T., Chatrung, C., Noparoojjinda, Supawadee Peawnalaw, S., & Doungkeaw, J. (2020). Development of an Instructional Model Based-on Simulation-Based Learning in Nursing Care of Persons with Health Problems. Multidisciplinary Journal for Health, 1(2), 47-61. (In Thai)
Srisa-Ard, B. (2014). The Basic Research (9th ed.). Bangkok: Suveriyasarn. (In Thai)
Suwannakeeree, W., Jullmusi, O. & Tangkawanich, T. (2016). Simulation-Based Learning Management for Nursing Students. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 28(2), 1-14. (In Thai)
Suwannakeeree, W., Jullmusi, O., Inkaew, T., Tangkawanich, T. & Rueangram. S. (2017). Satisfaction and Self-Confidence in Critical Care Nursing of Nursing Students Learning with Simulation-Based Learning. Journal of Nursing and Health Sciences, 11(3), 167-177. (In Thai)
Thongmeekhaun, T., Sateuw, S. & Chuakompeng, A. (2017). Perception of Students and Preceptors towards Clinical Skills Regarding Basic Medical Treatment among Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 27(Special), 131-143. (In Thai)
Thongmeekhaun, T. & Sateuw, S. (2017). Primary Medical Care Learning about Dyspnea Syndrome among Nursing Students: The Effects of Seminar Teaching and Learning Method. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing. (In Thai)
Thongmeekhaun, T. & Sateuw, S. (2018). Primary Medical Care Learning about Dyspnea Syndrome among Nursing Students: The Effects of Seminar Teaching and Learning Method. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(1), 74-90. (In Thai)
Vorapongsathorn, S. (2015). The Research in Health education (3rd ed.). Bangkok: Vitoon Binding & Printing. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.