ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา หีดเภา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความเครียด, นักศึกษา, โรคโควิด-19, การแพร่ระบาด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษา และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา ภายใต้สถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา2019 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 501 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ ประกอบด้วยข้อมูลคุณลักษณะทางประชากร ความเครียดสัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และสภาพแวดล้อมทางการเรียน แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบสอบถามด้านความเครียดสัมพันธ์ภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน และสภาพแวดล้อมทางการเรียนมีสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาชอัลฟาเท่ากับ 1.00, 1.00, 0.97 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยพหุตัวแปรโลจิสติก นำเสนอด้วยค่า Odds ratio และค่าช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า

1. นักศึกษาประมาณเกือบครึ่งมีระดับความเครียดสูง (ร้อยละ 40.12) โดยมีค่าคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 48.08 (SD=16.83) คะแนน

2. ปัจจัยด้านสถานศึกษา คือ การศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง (ORadj = 0.31 95%CI: 0.11-0.88) การศึกษาในชั้นปีที่ 1 (ORadj = 0.34 95%CI: 0.15-0.76) อาศัยในภูมิลำเนาอื่นๆ (ORadj = 2.70 95%CI: 1.06-6.87) และการมีรายได้ไม่เพียงพอ (ORadj = 1.94 95%CI: 1.31-2.88) มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาในจังหวัดตรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ดังนั้น สถาบันการศึกษา ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณามาตรการจัดการความเครียดของนักศึกษาโดยเฉพาะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 3 และ 4 นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาจากภูมิภาคอื่น ๆ และนักศึกษาที่มีรายได้ไม่เพียงพอ

References

Chaimay, B. (2019). Public Health Research Methods (Revised Edition) (4th Edition). Teaching Documents. Songkhla: Nam Art Advertising. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). Report on the Situation of COVID-19 in Thailand. Retrieved April 15, 2021 from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/. (in Thai)

Kaewsakulthong, J. (2019). Factors Predicting Stress among Nursing Students Under the Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. Journal of Health Research and Innovation, 2(1), 1-11. (in Thai)

Lazarus & Folkman. (1984). Psychological Stress and the Coping Process. New York: McGraw-Hill.

Mahatnirand, S. (2002). Suan Prung Stress Scale (Suanprung Stress-20, SPST - 20). Suan Prung Hospital, Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (in Thai)

Mingprasert, A. & Prof. Kong De Sheng. (2014). A Study of Mental Health and the Stress of undergraduate Students in Faculty of Pharmacy at Rangsit University. Journal of Social Sciences and Humanities, 40(2), 211-227. (in Thai)

Mokekhaow, K., Sukrapat, W. & Pommala, W. (2020). Factors Related to Stress of Nursing Students. Journal of Nursing Science and Health, 44(2), 60-71. (in Thai)

Phoolawan, P., Khangrang, E., Butsri, C., Duphong, P. & Larpanantbangkerd, K. (2018). Factors Related to Stress among First Year Students Syudying at Sakonnakhon Rajabhat University. Valaya Alongkorn Research and Development Journal under Royal Patronage, 15(3), 105-118. (in Thai)

Piyayodilokchai, H., Kamphusiripong, A., Sawatmuang, M. & Chandrapas. (2014). Stress and Stress Coping of Business Information Technology Students of Rajamangala University of Technology Rattanakosin, Bophit Phimuk Chakkrawat. Rajamangala University of Technology Rattanakosin. (in Thai)

Sangchai, R. (2010). Factor Affecting Stress in Student, Faculty of Public Health, Bangkokthonburi University. Bangkok. (in Thai)

Saykaew, T., Srisiri, S. & Saiyudthong, S. (2019). The Factors Influenced Stress of Public Health Students in College of Allied Health Sciences, Suan Sunandha Rajabhat University, Samutsongkhram Campus. Journal of the Doctor of Social Sciences, 9(3), 612-628. (in Thai)

Sonpaveerawong, J., Dammee, M., Nimsuwa, J., Mad-a-dam, C., Laiadkan, S. & Sopon, S. (2016). Stress, Stress Management andthe Need to Supports Nursing Students. Journal of Nursing and Education, 9(3), 36-50. (in Thai)

Trang Provincial Public Health Office. (2021). Report on the Situation of COVID-19, Trang Province. Retrieved May 1, 2021 from https://covidtr.trang.go.th/news. (in Thai)

TrangUnet network. (2020). TrangUnet. Retrieved April 27, 2021 from https://web.facebook.com/

TrangUnet/?_rdc=1&_rdr. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-20