การพัฒนาการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 วิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • ทานตะวัน แย้มบุญเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • สาริณี โต๊ะทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาการเรียนการสอน, โควิด-19, การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลลัพธ์การเรียนการสอนและข้อเสนอการพัฒนาการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 ของวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษา จำนวน 19 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. อาจารย์และนักศึกษาพึงพอใจและไม่พึงพอใจในผลลัพธ์การเรียนการสอน

2. แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน 6 ด้าน ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหาวิชา กระบวนการจัดการเรียนการสอน สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รวม 33 แนวทาง ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาด้านผู้สอน เช่น การให้การปรึกษาการแก้ปัญหา การให้การสนับสนุนทางวิชาการ การฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอน ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาด้านผู้เรียน เช่น การฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ การให้ยืมสื่ออุปกรณ์ การสื่อสารให้ผู้ปกครองเห็นความจำเป็นของการเรียนการสอน ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาด้านเนื้อหาวิชา เช่น การปรับแผนการจัดการเรียนสอน การศึกษาความพร้อมของผู้เรียน การปรับเนื้อหาวิชา ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น การปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การปรับกิจกรรมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับกิจกรรมการศึกษาดูงาน ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ เช่น การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ การเลือกใช้แพล็ตฟอร์มการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาแหล่งสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน  และตัวอย่างด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เช่น การปรับแก้ไขกลยุทธ์การวัดและประเมินผล การปรับแก้ไขวิธีการสอบ การเลือกใช้เครื่องมือการสอบ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอื่น ๆ ควรนำแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 ไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์วิกฤติที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ on-site ได้

References

Basilaia, G., Dgebuadze, M., Kantaria, M. & Chokhonelidze, G. (2020). Replacing the Classic Learning Form at Universities as an Immediate Response to the COVID-19 Virus Infection in Georgia. International Journal for research in Applied Science and engineering Technology, 8, III.

Bovornwatcharaset, R. & Somanandana, V. (2021). The Study of Instruction during Covid-19 for Students with Low Academic Achievement. Journal of Research and Development in Special Education, 10(2), 121-135. (in Thai)

Buason, R. (2008). Educational Qualitative Research. Bangkok: Kasamai.Chula Communication Center. (2021). 6 Tips for Effective Online Teaching. Retrieved December 19, 2022 from https://www.chula.ac.th/news/40851/ (in Thai)

Duangkao, R. (2008). A system and a Mechanism for Supporting Parent Involvement in Children's Enhancement. Bangkok: Office of the Education Council. (in Thai)

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2020). Handbook and Guidelines of Higher Education Institutions in Teaching and Learning Management. Retrieved December 19, 2022 from https://mail.google.com/mail/u/0/?tab= rm&ogbl#inbox?projector=1 (in Thai)

Ministry of Public Health. (2020). Handbook for Schools in Preventing the Spread of COVID-19. Nonthaburi: Department of Health Ministry of Public Health. (in Thai)

Ongcharoen, P. (2017). Lessons Learned from Government Sector Project Management. Bangkok: Together Edutainer. (in Thai)

Pinyosinawat, P. (2020). How to Organize Teaching and Learning in the Situation of COVID-19: From Lessons Learned Abroad to Learning Management in Thailand. Retrieved March 20, 2020 from www.tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic (in Thai)

Sarabun, S., Suthiruangwong, P., Wapet, S., Kositpokin, S., Phusiri, P., Koomkrong, T., et al. (2011). Handbook for Taking Lessons Learned in Agricultural Extension Work. Bangkok: Agricultural Extension Research Development Group, Department of Agriculture Extension. (in Thai)

Sipithakkiat, A., Piansukmanee, S., Pichitpatja, P. & Tangsomchai, C. (2021). Lessons Learned about Teaching and Learning during the COVID-19 Pandemic at Chiang Mai University. Chiangmai: Teaching and Learning Innovation Center, Chiang Mai University.

Sookong, T. & Srisukvatananan, P. (2021). A Study of Learning and Teaching Management during the Covid-19 Pandemic and the Covid-19 Relief of Phra Nakhon Si Ayutthaya. Journal of Research and Development in Special Education, 10(1), 93-108. (in Thai)

Thammetha, T. (2014). E-Learning: from Theory to Practice. Bangkok: Office of the Higher Education Commission. (in Thai)

Thongkao, T. (2020). New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10. (in Thai)

Tupsai, U. & Hongsiri, Y. (2022). The Online Learning Management During the Covid-19 Pandemic of Foreign Languages Department At Anubanloei School, Loei Province. Mahidol Integrated Social Science Journal, 2(4), 37-43. (in Thai)

Wayo, W., Charoennukul, A., Kankayan, C. & Konyai, J. (2020). Learning Under the COVID-19 Epidemic: Concepts and Applications of Teaching and Learning Management. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298. (in Thai)

Yokanit, P. & Sangraksa, N. (2010). Lesson Learned from Learning Community Health Care of Nongsarai District, Phanomthuan, Khanchanaburi. Journal of Education Silpakorn University, 2(1), 132-140. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-20