ผลของโปรแกรมการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ต่อสมรรถนะการปฏิบัติราชการของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลทุ่งสง

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ รัตนบุรี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เรณุการ์ ทองคำรอด สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การโค้ชแบบโกรว์, พฤติกรรมการโค้ช, สมรรถนะการปฏิบัติราชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการโค้ชของผู้บริหารทางการพยาบาลระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรม 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติราชการของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมและ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทุ่งสงที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน 2) ผู้ประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่จำนวน 64 คน 3) พยาบาลวิชาชีพจบใหม่ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการโค้ชแบบโกรว์ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการโค้ชแบบโกรว์ 3) แบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติราชการ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามทั้งหมดได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .97, .99 และ .96 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .96, .91, และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิลคอกซันซายน์แรงค์ ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมการโค้ชของผู้บริหารทางการพยาบาลหลังการใช้โปรแกรมการโค้ชแบบโกรว์สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

2. สมรรถนะการปฏิบัติราชการของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่หลังการใช้โปรแกรมการโค้ชแบบโกรว์สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

3. ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่หลังการใช้โปรแกรมการโค้ชแบบโกรว์สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบการโค้ชแบบโกรว์ในโรงพยาบาลทุ่งสง โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารในการกำกับดูแลการปฏิบัติการพยาบาล ที่มุ่งพัฒนาพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ทุกหน่วยงาน ทุกหอผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพสูง และกำหนดนโยบายการเตรียมพยาบาลจบใหม่ และศึกษาติดตามระยะสั้นและระยะยาว โดยมีการส่งเสริมการใช้โปรแกรมการโค้ชทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

Alexander, G. (2010). Behavioral Coaching-The GROW Model In Passmore, Jonathan. Excellence in Coaching: the Industry Guide (2nded). Philadelphia: Kogan.

Gilmer, B. (1973). Applied Psychology. New York: Mc Graw-Hill.

Hawaharn, C. & Inthongpan, O. (2015). Research and Development of a Coaching Model to Develop Competence in Health Service Practice. Journal of Nursing Ministry Public Health, 25(1), 166-177.

Likert, R. (1976). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw Hill.

Medland, J. (2009). Coaching as a Successful Strategy for Advancing New Manager Competency and Performance. Journal of Nurses Staff, 25(3), 141-147.

Nirattipattanasai, K. (2013). Executive Coaching Executive Coaching. Retrieved December 30, 2021, from http://www.thecoach.in.th.

Office of the Civil Service Commission. (2020). Handbook for Evaluation of Government Performance. Retrieved November 3, 2020, from http://www.khuumuuekaarpraemin_phaaphrwmrabbbrihaarphlngaanaelarapraemin_phimphpii_52.pdf.

Office of the Civil Service Commission. (2009). Handbook of Competency Determination in Civil Service: Core Competency Handbook. Nonthaburi: Prachumchang Co., Ltd.

Promma, S. (2016). Coaching Skills Development Model of Nursing Leaders. (Ph.D. not published). Rajabhat Rajanagarindra University, Songkhla. (in Thai).

Ruangpisit, Y. (2015). The Development of Teaching System for Professional Nurses in Specialized Hospitals. One Under the Medical Department Ministry of Public Health (Nursing Degree Thesis. Master of Arts Not Published). Christian University, Nakhon Pathom. (in Thai).

Siriwan, S. (2017). Coaching to Develop Excellent Performance. Bangkok: HR

Sritrakul, R. (2015). Strategies for Nursing Supervision. Retrieved March 3, 2022 from http://www.nurse.kku.ac.th.

Thamapirat, N. & Uamtanee, A. (2017). Being a New Graduate Nurse who Works under the Supervision of a Nanny Nurse. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18(1-4), 32-40.

Tharaphaisansuk, O. (2018). The Effects of Supervision According to the Growth Coaching Model of Primary Nursing Administrators at Private Hospitals. Not Published). Christian University, Nakhon Pathom. (in Thai).

Thiangcharoen, P. (2012). The Effect of Using the Nurse Nanny Model on the Ability to Work. of New Registered Nurses as the Head of the Nursing Team Chachoengsao City Hospital. Chachoengsao Province. Not Published). Burapha University, Chonburi Province. (in Thai).

Tikkawi, J. (2016). How Good is Coaching?. Retrieved May 20, 2020. from https://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/10054.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20