การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • มัสลินภร จู่มา นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เรณุการ์ ทองคำรอด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศทางคลินิก, พยาบาลวิชาชีพจบใหม่, โรงพยาบาลหนองคาย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิก ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นและระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานและพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 14 คน และ 10 คนตามลำดับและระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการนิเทศทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานและพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 11และ12 คนตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและการระดมสมอง 2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิก 3) แบบประเมินทักษะการนิเทศทางคลินิกและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิก และ 4) แบบประเมินสมรรถนะและแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ แบบสอบถามสำหรับผู้นิเทศทางคลินิก มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .90 และ .97 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 และ 0.85 ตามลำดับ แบบสอบถามสำหรับพยาบาลวิชาชีพจบใหม่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 และ 0.96 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .88 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติวิลคอลซอนไซน์แรงค์ ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดของพรอคเตอร์ ได้แก่กิจกรรม กระบวนการนิเทศทางคลินิก ประกอบด้วยคู่มือและคลิปวิดิโอการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่

2. ทักษะการนิเทศทางคลินิกของผู้นิเทศทางคลินิกและสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพจบใหม่หลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของผู้นิเทศทางคลินิกและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิกหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก

ดังนั้นรูปแบบการนิเทศทางคลินิกในพยาบาลวิชาชีพจบใหม่โดยใช้แนวคิดของพรอคเตอร์ สามารถส่งเสริมทักษะการนิเทศทางคลินิก สามารถสร้างเสริมสมรรถนะ และสร้างความพึงพอใจในการนิเทศทางคลินิกได้ และในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

References

Amonprompukdee, A., Junprasert, T. & Surakarn, A. (2020). Nursing Supervision: A Scoping Review. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 30(3), 144-157. (in Thai)

Bradley, P., King, R., Love, B., Marks, P., Murphy, S., Sharrock, J., et al. (2019). Position Statement Clinical Supervision for Nurse & Midwives. Retrieved May 10, 2021 from https://www.midwives.org.au/.

Chinudompong, C. (2012). The 13th HA National Forum Annual Meeting on March 13-16 (2012) Organized by the Institute for Healthcare Accreditation. Retrieved March 4, 2021 from https://www.hsri.or.th/researcher/notice. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-179.

Goh, E. & Lee, C. A. (2018). Workforce to be Reckoned with: Theemerging Pivotal Generation Z Hospitality Workforce. International Journalof Hospitality Management Retrieved September 26, 2022 from www.semanticscholar.org./.

Herzberg, F., Mausner, B. & Snyderman B. B. (1959). The Motivation to Work (2nded). New York: john Wiley.

Kanhadilok, S. & Malai, C. (2016). Simulation Based Learning: Design for Nursing Education. Journal of Nursing and Education, 9(1), 1-14. (in Thai)

Kanhadilok, S., Punsumreung, T. & Malai, C. (2017). Evidence Based Teaching Strategies in Nursing, Journal of Nursing and Health Care, 35(4), 34-41. (in Thai)

Kumraj, T., Jarenpan, J. & Loyha, S. (2012). The Development System for Excellence in Nursing Supervision at Fort Sunpasitthiprasong Hospital Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 13(3), 60-71. (in Thai)

Limtrakul, D. (2019). Developing a Nursing Supervision Model of Anesthetist Nurse Division For Standardize and Quality of Service. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal, 4(1), 56-70. (in Thai)

NongKhai Hospital Nursing Organization. (2022). Self-Assessment Report 2022 NongKhai Hospital Nursing Organization, Nong Khai Hospital. (in Thai)

Pangthit, D. (2022). Effect of Clinical Supervision Program on Knowledge Development and Nursing Practice of Registered Nurses in Neonatal Intensive Care Unit, Sansai Hospital. Retrieved October 4, 2022. from https://www.chiangmaihealth .go.th/cmpho_web/document/220308164671432485.pdf. (in Thai)

Piphatpawan, B. (2019). Role Transition from Student Nurses to Registered Nurses, Journal of Nurses Association of Thailand Northern Region, 25(2), 52-62. (in Thai)

Proctor, B. (2001). Training for the Supervision Alliance Attitude, Skills and Intention. In J.R. Cutcliffe, T. Butterworth & B. Proctor (Eds), Fundamental Themes in Clinical Supervision (pp.25-46). London: Routledge.

Serafin, L., Danilewicz, D., Chyla, P. & Czarkowska-Paczeka, B. (2020). What is the Most Needed Competence for Newly graduated Generation z Nurses? Focus Groups Study. Nurse Education Today, Retried from https:// doi.org/10.1016// j.nedt.2020.104583.

Sinsawad, P. (2019). Effects of Learning Through Reflective Practices on Reflective Behaviors of Nursing Students. Nursing Science Journal Siam University, 20(39), 88-98.

Sritragool, R. (2021). Administrative Supervision and Clinical Supervision for Nurses. Retrieved March 3, 2021 from http://km.fsh.mi.th/?p=2276/. (in Thai)

Supunpayob, P., Sukadisai, P. & Amphon, K. (2013). Developing a Nursing Supervision Model of the Nursing Devision in Phrapokklao Hospital. Journal of Nursing and Education, 6(1), 12-26. (in Thai)

Tantisuk, W. (2013). The Development of Participatory Clinical Supervision Patternof Registered Nurses at the Private Hospital in Bangkok. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Nursing Science in Nursing Administration School of Nursing, Christian University of Thailand. (in Thai)

Tianthong, H. (2013). Nursing supervision. Retrieved March 4, 2021 from http://www.Med.cmu.sc.th/hospital/nis. (in Thai)

Ubas-Sumagasyay, N. A. & Flores Oducado, R. M. (2020). Perceived Competence and Transition Experience of New Graduate Fiilipino Nurses. Journal Keperawatan Indonesia, 23(1), 48-63.

Winstanley. J. & White, E. (2011). The MCSS-26: Revision of The Manchester Clinical Supervision Scale Using the Rasch Measurement Model. Journal of Nursing Mersurement, 19(3), 160-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย