การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ที่อาศัยในพื้นที่มีการระบาดซ้ำและพื้นที่ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ผู้แต่ง

  • จิราพร พัฒน์มณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองศก ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ https://orcid.org/0000-0002-5758-4081

คำสำคัญ:

การป้องกันโรค, การมีส่วนร่วมของชุมชน, พื้นที่ระบาดซ้ำ, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่มีการระบาดซ้ำและพื้นที่ไม่มีการระบาด เลือกพื้นที่มีการระบาดซ้ำด้วยวิธีการเจาะจง ส่วนพื้นที่ไม่มีการระบาดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุ 20 - 60 ปี และอาศัยในพื้นที่อย่างน้อย 1 ปี หมู่บ้านละ 136 คน รวมจำนวน 272 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2563 ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบถามด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การรับรู้ และการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเท่ากับ 0.73, 0.83, 0.71, 0.73 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาขนที่อาศัยในพื้นที่มีการระบาดซ้ำและพื้นที่ไม่มีการระบาดด้วยสถิติ Mann Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า

ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ระบาดซ้ำและพื้นที่ไม่มีการระบาดมีทัศนคติ (p-value=0.001) พฤติกรรม
(p-value<0.001) และการมีส่วนร่วม (p-value<0.001) ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

อย่างไรก็ตาม พบว่า ประชาชนมีความรู้และการรับรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาดังกล่าว บุคลากรสาธารณสุขควรจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เกิดความตระหนักและทัศนคติในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมที่เน้นการปฏิบัติในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีการระบาดซ้ำให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ต่อไป

References

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). Summary of the Annual Disease Surveillance Report. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Printing House. (in Thai)

Division of Preventive Medicine. (2005). Handbook of Preventive Medicine. Documentation Teaching Technical Courses. Preventive medicine. Division of Preventive Medicine Naval Medical Department. Bangkok

Green, L. W. & Kreuter, M. W. (2005). Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield.

Jirawan, W. (2016). Behavior for Dengue Hemorrhagic Fever Control and Prevention of People in the Area with Low and High Epidemics, Amphoe Mueang Trang, Changwat Trang. Master of Public Health. Trang: College of Public Health. (in Thai)

Office of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). Weekly Outbreak News Summary, 2018 from https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

Phatmanee, J., Woradet, S. & Chaimay, B. (2020). A Review of the Literature on Differences of Behavioral Factors among People Living in High and Low Endemic Areas of Dengue Fever in Thailand. UBRU Journal of Public Health Research, 9(2), 6-19.

Phichet, S. (2011). Comparison of Knowledge Social Support and Preventive Behavior of Dengue Hemorrhagic Fever among People in Epidemic and Non-Epidemic Villages in Thungbenja Subdistrict Thamai District Chanthaburi Province. Master of Public Health. Chanthaburi: Burapha University. (in Thai)

Piromrat, K. (2015). Prevention and Control Behavior of Dengue Fever of Health Network Partners in Muang District Buriram Province. Research and Development Journal, Buriram Rajabhat University, 10(2), 84-90.

Praphasi, S. (2014). The Comparision of People Behavior and Community Leaders Participation for Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control between Sub-District which Had High and Low, Incidence Rate, Buayai District, Nakhonratchasima Province. Master of Public Health. Nakhonratchasima Province: Khon Kean Universit.

Ruetai, S. & Niramol, M. (2012). A Comparative Study of Dengue Hemorrhagic Fever Prevention Behavior among the People Living in the Epidemic and Non-epidemic Villages: A Case Study in Phimai District. Nakhon Rachasima Province. Srinakarin Vejsarn, 27(4), 361-365.

Sutipong, N. (2003). Compare Public Perceptions and Participation in Prevention and Control. Dengue Fever Between the Villages, the Incidence of the Disease was Found High and Dengue Fever was Not Observed. Nampad District, Uttaradit Province. Master of Public Health. Uttaradit: Chiang Mai University. (in Thai)

The Bureau of Communicable Diseases is Led by Insects. (2018). Dengue Prognosis. 2018 from https:ttps://ddc.moph.go.th /uploads/files/ e0325809a787bf36b787fe9a56acc691.pdf

World Health Organization. (2012). Handbook for Clinical Management of Dengue. Geneva. Organisation Mondiale De La Sante.

World Health Organization. (2019). Dengue and Severe Dengue. November 10, 2019. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย