ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • จอมขวัญ รัตนพิบูลย์ โรงพยาบาลควนขนุน จังหวัดพัทลุง
  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, พฤติกรรมการป้องกัน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมการป้องกัน
โรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 317 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ .67 -1.00 และสัมประสิทธิความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของแอลฟาครอนบาชของแบบสอบถามด้านทัศนคติ การรับรู้ ความเพียงพอของทรัพยากร การได้รับข้อมูลข่าวสาร ทักษะในการใช้ทรัพยากร และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 เท่ากับ .73, .79, .80, .77, .76 และ .73 ตามลำดับ และแบบสอบถามความรู้ มีความเชื่อมั่นด้วยวิธีการของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน-20 เท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติกพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า

1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (M=2.01, SD=57, 67.80) อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.80)

2. ปัจจัยด้านเพศ (AOR=2.52, 95%CI: 1.04-6.12) ความเพียงพอของทรัพยากร (AOR=2.76, 95%CI: 1.54-4.97) และการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (AOR=0.26, 95%CI: 0.13-0.36) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p<0.05

ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ควรได้รับการสนับสนุนทรัพยากรและการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อโควิด-19 และสื่อสารให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ต่อไป

References

Bunthan, W., Whaikit, P., Soysang, V., Soynahk, C., Akaratanapol, P., & Kompayak, J. (2020). Factor Influencing to Health Promotion Behavior for Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Prevention of Older Adults. Journal of The Police Nurses, 12(2), 323–337. (in Thai)

Dathong, J. (2021). Factors Associated with Preventive Behaviors Regarding Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Among the Elderly. An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Public Administration in Public Administration Department of Public Administration Faculty of Political Science. Chulalongkorn University. (in Thai)

Department of Health Service Support. (2020). Coronavirus Disease 2019 for Public Health Officer and Village Health Volunteers. Retrieved June 6, 2021 from http://www.hss05.com

Division of Health Education, Department of Health Service Support. (2018). Strategies for Enhancing Health Literacy and Health Behaviors. Nontaburi: Ministry of Public Health (in Thai)

Faculty of Medicine, Mahidol University. (2021). What is Coronavirus Disease 2019. Retrieved June 4, 2021 from https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/covid19is/

Khumsaen, N. (2021). Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1), 33–48. (in Thai)

Laksananan, N. (2020). Current Situation of COVID-19 and Advice. Retrieved June 12, 2021.from https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Commerce. (2020).The World After COVID-19, Economic and Social Impacts. Retrieved May 5, 2021. from http://mocplan.ops.moc.go.th › ewt_dl_link.

Ongarj, P., & Ungcharoen, R. (2021). Self-Protection Behavior of COVID-19: A Case Study of Studentsat Kasetsart University, Chalermphrakiat Campus, Sakon Nakhon Province. Public Health Policy & Law Journal, 7(1), 87–102. (in Thai)

Pawangkarat, S., Arjchanasuek, S., & Namchu, P. (2021). A Study of the Situation of Surveillance, Prevention and Control of Coronavirus Disease 2019 in the Community by Village Public Health Volunteers. Retrieved May 5, 2021. from http://phc.moph.go.th › data_center › dyn_mod.

Phatthalung Provincial Public Health Office. (2021). Data on the Number of Village Health Volunteers. Retrieved May 5, 2021. from https://plg.hdc.moph.go.th/hdc/report.

Sarikphu, C. (2020). SARS-CoV-2: the Coronavirus Disease-2019. Retrieved June 12, 2021. from http://sakon.nfe.go.th/KhokSiSuphan/popup.php?name=knowledge&file=p_readknowledge&id=35.

Singweratham, N., Wiwat Thaopan, W., Nawsuwan. K., Pohboon, C., & Surirak, S. (2020). Perception and Preventive Behaviors on the Coronavirus Disease-2019 (COVID-19) among Dental Nurses Under the Ministry of Public Health. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(2), 104–115. (in Thai)

The Centre for the Administration of the Situation due to the Outbreak of the Communicable COVID-19. (2021). Situation of Coronavirus Disease 2019. Retrieved June 4, 2021 from https://www.moicovid.com.

Wongti, S., & Keeratisiroj, A. (2021). Factors Affecting Prevention Behaviors for Coronavirus Disease 2019 among Village Health Volunteers, Sukhothai Province. M.P.H. Thesis in Public Health Program, Naresuan University, (in Thai).

Yeunyow, T., & Boonserm, P. (2020). The Relationship Between Knowledge and Attitude Toward on Prevention Behavior of Coronavirus Infection 2019 (COVID-19) Among Female Village Health Volunteer (VHV), Surin Province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 35(3), 555–564. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-02

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย