การพัฒนาบอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดไทยสายราชสำนัก สำหรับนักศึกษาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • อำพล บุญเพียร สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปฐมา จันทรพล สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัฐณิชา แดงสุวรรณ์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • มุฑิตา เหล็กกล้า สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

บอร์ดเกม, จุดสัญญาณ, การนวดไทยสายราชสำนัก

บทคัดย่อ

บอร์ดเกมเป็นกิจกรรมรูปแบบหนึ่งสำหรับการเรียนรู้ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจและเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีส่วนช่วยในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนจะได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้บอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดราชสำนัก ดำเนินการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้เรื่องจุดสัญญาณการนวดไทยสายราชสำนักจากการสนทนากลุ่มนักศึกษา จำนวน 8 คน และสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 พัฒนาบอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดไทยสายราชสำนัก โดยประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดลองกับกลุ่มขนาดเล็กจำนวน      30 คน และระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้บอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดราชสำนัก โดยการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลอง 30 คน เครื่องมือที่เก็บข้อมูล คือ แนวการคำถามสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ บอร์ดเกม แบบประเมินคุณภาพบอร์ดเกม แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนมิถุนายน - กันยายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. บอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดราชสำนักที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย แผ่นเกม การ์ดคำถาม ไพ่รักษา คัมภีร์ความรู้ คัมภีร์เฉลยไพ่รักษา หมากในการเดิน บ้าน ลูกเต๋า และคู่มือการเล่นเกม โดยการเล่นเกมจะต้องใช้ผู้เล่นจำนวน 4 - 8 คน ใช้ระยะเวลาในการเล่นนาน 30 - 45 นาที

2. หลังการเล่นบอร์ดเกมนักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีความรู้มากกว่าก่อนเล่นบอร์ดเกม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และความพึงพอใจต่อการเล่นบอร์ดเกมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.65, SD=0.51)

บอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดไทยสายราชสำนัก สามารถเพิ่มความรู้เกี่ยวกับจุดสัญญาณให้กับนักศึกษาการแพทย์แผนไทยได้ ดังนั้นควรนำบอร์ดเกมจุดสัญญาณการนวดไทยสายราชสำนักไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เป็นสื่อประกอบในห้องเรียน และเป็นสื่อเรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียนได้

References

Anantaket, P. (2017). An interesting Story about Game-Based Learning. Bangkok: King Mongkut's University of Technology Thonburi. (in Thai)

Binbai, S. (2014). Design and Develop Multimedia Lessons Using the ADDIE Model. Innovation and Information Technology in Education. Retrieved May 15, 2020 from https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2014/12/addie_design_sumai.pdf. (in Thai)

Chunthed, J. (2019). Designing a Board Game to Promote English Vocabulary Learning for Junior High School Students. An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Education in Learning Sciences and Educational Innovation Faculty of Learning Sciences and Education, Thammasat University. (in Thai)

Hofer, M., & Jackson, K. (2003). The Games We Played: The Golden Age of Board & Table Games. Houston: Princeton Architectural Press.

Inchamnan, W. (2018). Development of Game-Based Learning Media for Enhancing the Understanding of the Rules and Requirements Practice in Juvenile Training Center. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Intasara, W. (2019). Game Based Learning The Latest Trend Education 2019. Bangkok: Suan Dusit University. (in Thai)

Jitruttanaporn, S., & Sriamonruttanakul, T. (2018). The Synthesis of the Research Papers Related to Massage to Treat Health Problems. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 4(3), 236-251. (in Thai)

Khemmani, T. (2008). The Science of Teaching Knowledge to Organize an Effective Learning System. (3rd ed). Bangkok: Dansutta printing. (in Thai)

Luchi, K. C. G., Cardozo, L. T., & Marcondes, F. K. (2019). Increased Learning by Using Board Game on Muscular System Physiology Compared with Guided Study. Adv Physiol Educ, 43(2), 149–154.

Nganlasom, P. (2021). Development on a Bord Game to Enhance Learning Development and Attitude Toward Thai Literature of Seventh Grade Students. Journal of Political Science Mahamakut Buddhist University, 1(1), 24-40. (in Thai)

Pornsima, D. (2016). Thai Teacher 4.0. Retrieved November 27, 2019 from http://www.matichon.co.th/news/345042. (in Thai)

Preedarkorn, A. (2014). Design a Board Game to Study Colour circle for Students in Grade 6. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Master of Education Degree in Art Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Public Health Foundation and Development. (2009). Thai Massage Textbook. (4th ed). Bangkok: Pimdee. (in Thai)

Thai Traditional Medicine Students. (2019). Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology. (2019, June 15). Interview.

Traditional Thai Medicine Rehabilitation Foundation, Ayurveda. (2012). History of Thai Royal Massage. (2nd ed). Bangkok: Usa Printing. (in Thai)

Treher, E. N. (2011). Learning with Board Games: Play for Performance. Retrieved December 10, 2019 from https://www.thelearningkey.com/pdf/Board_Games_ TLKWhitePaper_May16_2011.pdf.

Yamkuan, L. (2016). The Design and Development of Game-Based Learning for 6th Grade Mathematics. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Information Science in Information Technology, Suranaree University of Technology. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-02