การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งและอันดับที่สอง ของภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร ไข่หิน โรงพยาบาลอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรม, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, หัวหน้าหอผู้ป่วย, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งและอันดับที่สองของภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน

วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 330 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำด้านนวัตกรรม ใช้มาตรวัดแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.98 ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2562 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่ง  และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง

ผลการวิจัย: ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมอันดับที่หนึ่ง มีจำนวน 5 องค์ประกอบ 27 ตัวแปร โมเดลฯ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเมื่อทดสอบด้วยสถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ c2 2nd order= 24.939 df = 319 P-value=1.000 c2/df (CMIN/DF) = 0.078 GFI = .994 AGFI = .993 NFI = .997 CFI = 1.000 RMSEA = .000) จำนวนองค์ประกอบของภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนมี 5 องค์ประกอบ 27 ตัวแปร ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (14 ตัวแปร) 2) การตัดสินใจเลือกทำนวัตกรรม (3 ตัวแปร) 3) การนำนวัตกรรมและผลการวิจัยไปใช้ (3 ตัวแปร)      4) การจัดการทีมสร้างสรรค์นวัตกรรม (3 ตัวแปร) และ 5) การบริหารผลการปฏิบัติงานด้วยระบบรางวัล (4 ตัวแปร)

การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ค้นพบใหม่นี้ผ่านการทดสอบเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้เป็นเครื่องมือการประเมินคุณลักษณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมหรือเป็นแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมได้สอดคล้องกับบริบทโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทย

References

Adair, J. (2009). Leadership for Innovation: How to Organize Team Creativity and Harvest Ideas. Kogan Page, London.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1993). Transformation Leadership and Organizational Culture. Public Administration Quarterly, 17(1), 114-122.

Brown, T., & Rodger, S. (1999). Research Utilization Models: Frameworks for Implementing Evidence-Based Occupational Therapy Practice. Occupational Therapy International Journal, 6(1), 1-23.

Buachu, T., & Wivatvanit, S. (2017). Innovation Leadership of Head Nurse, Government University Hospital. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 29(1), 141-153. (in Thai)

Bureau of Information Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2016). National Strategy 20 years. 2016. Retrieved November 20, 2018 from https://waa.inter.nstda.or.th. (in Thai)

Burns, N., & Grove, S. K. (2001). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique, & Utilization. (4th ed.). Philadelphia: W. B. Saunders.

Creswell, J. W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing among Tradition. Thousand Oaks, C.A.: Sage Publications.

DeVillis, R. F. (2012). Scale Development: Theory and Application. (2rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Gliddon, D. G., & Rothwell, W. J. (2018). Innovation Leadership. New York: Routledge Publishers.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Jaiswal, N. K., & Dhar, R. L. (2015). Transformational Leadership, Innovation Climate, Creative Self-Efficacy and Employee Creativity: A Multilevel Study. International Journal of Hospitality Management, 51, 30-41.

Joseph, L. M. (2015). Organizational Culture and Climate for Promoting Innovativeness. The Journal of Nursing Administration, 45(3), 172-178.

Kaihin, R. (2019). The Pilot Study the Components of Innovative Leadership of Head Nurse in Community Hospitals. (in Thai)

Kaihin, R., Singchungchai, P., & Pathumarak, N. (2021). Innovative Leadership Experience of Head Nurses in Community Hospitals. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(2), 138-149. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Marquis, B. L., & Huston, C. J. (2017). Leadership Roles and Management Functions in Nursing: Theory and Application. (9th ed.). Retrieved from Philadelphia, PA: Lippincott, Williams & Wilkins.

Maxwell, J. A. (1996). Qualitative Research Design: An Interactive Approach. Thousand Okays, CA: Sage.

Ministry of Public Health. (2018). Hospital Structure in 2018. Retrieved April 2, 2019 from http://www.pngo.moph.go.th/pngo/phocadownload/adminis/struck.pdf (in Thai)

Panthong, P., & Ratchukul, S. (2016). Innovative Leader Characteristics of Head Nurses in General Hospital. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 28(2), 15-24. (in Thai)

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing Research Principles and Methods. (6th ed.). Philadelphia: Lippincot.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Singchungchai, P. (2009). Principle and Using Qualitative Research in Nursing and Health. (3rd ed.). Bangkok: Chanmuang Press Foursquare. (in Thai)

Singchungchai, P. (2019). Innovative Leadership in Nursing Management. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(1), 260-266. (in Thai)

Wongsaichue, T. (2016). Descriptive Statistic. Retrieved December 27, 2020 From https://www.youtube.com/watch?v=o21Mnq8paIg (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-02