ผลของการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพต่อการรับรู้สมรรถนะในการทำงานร่วมกัน แบบสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และนักศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต
คำสำคัญ:
การศึกษาแบบสหวิชาชีพ, การดูแลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง, การทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพ, นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตและนักศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพก่อนและหลังการเข้าร่วมการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และนักศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 54 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการทำงานของทีมสหวิชาชีพและแบบประเมินความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องพบว่าทุกข้อมีดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 ทุกข้อ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .81 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างรับรู้สมรรถนะในการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพหลังการทดลองโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาแบบสหวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (M=3.93, SD=0.76)
อาจารย์และสถาบันการศึกษาควรจัดการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการทำงานร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพซึ่งจะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยแบบครอบครัวเป็นศูนย์กลางให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
Amédée-Manesme C-O, Barthélémy F, Maillard D. (2019). Computation of the corrected Cornish–Fisher expansion using the response surface methodology: application to VaR and CVaR. Annals of Operations Research, 281(1/2), 423–53.
Bosch, B. & Mansell, H. (2015). Interprofessional Collaboration in Health Care: Lessons to be Learned from Competitive Sports. Canadian Pharmacists Journal, 148(4), 176-179. doi: https://doi.org/10.1177/1715163515588106
Girard, M. A. (2021). Interprofessional Education and Collaborative Practice Policies and Law: an International Review and Reflective Questions. https://doi.org/10.1186/s12960-020-00549-w
Guraya, S. Y. & Barr, H. (2018). The Effectiveness of Interprofessional Education in Healthcare: A Systematic Review and Meta-Analysis. The Kaohsiung Journal of Medical Sciences, 34(3), 160-165. doi: https://doi.org/10.1016/j.kjms.2017.12.009
Petursdottir, A. B., Haraldsdottir, E. & Svavarsdottir, E. K. (2019). The Impact of Implementing an Educational Intervention to Enhance a Family-Oriented Approach in Specialised Palliative Home Care: A Quasi-Experimental Study. Scandinavian Journal of Caring Science, 33, 342–350. doi: 10.1111/scs.12628
Schmitz, C. C., Radosevich, D. M., Jardine, P., MacDonald, C. J., Trumpower, D., & Archibald, D. (2017). The Interprofessional Collaborative Competency Attainment Survey (ICCAS): A replication validation study. Journal of Interprofessional Care, 31(1), 28-34. https://doi.org/10.1080/13561820.2016.1233096
Sethasathie, S. (2015). A Model of Interprofessional Education (IPE) in Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Udonthani Hospital. Journal of Thai Rehabilitation Medicine, 25(2), 65-70. doi:10.14456/jtrm.2015.12 (in Thai)
Sarakshetrin, A., Sriyasak, A., Ketin, V. & Rongmuang, D. (2019). A Development of Interprofessional Education Learning Model for Health Promotion among the Elderly in the Community. Journal of Health and Nursing Research, 35(2), 140-151. (in Thai)
Sarakshetrin, A., Sriyasak, A., Kunlaka, S., Kitsomporn, L., & Intongpan, O. (2019). The Effect of Collaboration in Multidisciplinary Teams, Learning the Roles of Multidisciplinary Team. Journal of Community Public Health, 6(1), 125-135.
Srisathidnarakool, B. (2020). G*Power: Effect Size, Power Analysis, Optimal Sample Size Calculations Using G*Power Software. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Suriyanimitsuk, T., Reunreang, T., Seubyart, E., Patnattee, K. & Yimyoung, A. (2020). Results of Interprofessional Education (IPE) on Health Promotion in Pregnancy for Interprofessional Collaborative Competency Attainment. Journal of The Police Nurses, 12(2), 380-387. (in Thai)
World Health Organization. (2010). Framework for Action on Interprofessional Education and Collaborative Practice. Geneva: Switzerland.
Wang, Y. K., Lee, M., Teh, N. K., & Tan, A. P. (2021). Nurse Teachers' Perceptions of Interprofessional Education for Health Professions Students. Singapore Nursing Journal, 48(2), 13-19.
Yuennan, C. (2017). A Concept of Family-Centered Nursing Care among Children with Critical and Chronic Illness. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Region, 23(2), 59-69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.