ผลของลูกประคบสมุนไพรผ้านาโนต่อระดับความปวดคัดตึงเต้านม และปริมาณน้ำนมมารดาหลังคลอดที่มีอาการคัดตึงเต้านม

ผู้แต่ง

  • กัลยา นุตระ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • สิริกูล ปานทอง โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี
  • ชนัญชิดา วงษ์ท้าว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

ลูกประคบสมุนไพร, การประคบสมุนไพร, คัดตึงเต้านม, การไหลของน้ำนม, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการนวดประคบสมุนไพรผ้านาโนต่อระดับความปวดคัดตึงเต้านมและปริมาณน้ำนมมารดาหลังคลอดที่มีอาการคัดตึงเต้านม กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอด 48 ชั่วโมงหลังคลอดที่มีอาการคัดตึงเต้านม ที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง คัดเลือกคุณลักษณะที่กำหนด จำนวน 50 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 25 ราย และกลุ่มทดลองได้ประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพรผ้านาโน 25 ราย เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพรผ้านาโน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความปวด แบบประเมินการคัดตึงเต้านม และแบบประเมินการไหลของน้ำนม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Dependent t-test และ Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า

มารดาที่มีปัญหาเต้านมคัดตึงที่ได้รับการประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพรผ้านาโนมีคะแนนเฉลี่ยความปวดดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 3.36 และ 6.00 คะแนน คัดตึงเต้านม  2.00 และ 3.44 คะแนน การไหลของน้ำนม 4.56 และ 2.00 คะแนน สรุปว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพรผ้านาโนสามารถลดอาการปวดคัดตึงเต้านมและเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

จากผลการวิจัยนี้แสดงว่า พยาบาลควรนำลูกประคบสมุนไพรผ้านาโนไปใช้ในมารดาหลังคลอด เพื่อบรรเทาอาการคัดตึงเต้านม ทำให้มีปริมาณน้ำนมต่อเนื่องตลอดการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

References

Dhippayom, T., Kongkaew, C. & Chiyakunapruk. (2015). Clinical Effects of Thai Herbal Compress:A Systematic Review and Meta-Analysis. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 1-14.

Indrani, D. & Sowmya, M. V. (2019). A Study to Find the Prevalence of Breast Engorgement among Lactating Mothers. J Reprod Med Gynecol Obstet, 4(2), 1-5.

Janpia, C. (2012). Anatomy of Breast The Physiology of the Creation and Secretion of Milk and the Sucking Mechanism of the Baby. In: Vijitsukon, K., Sangmuang, P., Yatavoyu, N., Ruangjitsutra, S., Tayakruang, S., editor. Breastfeeding. Bangkok: Pre-One, 61-82. (in Thai).

Kala, S. (2018) Breastfeeding Support: Nurses’ Role. Songkla: Channuang Printing. (in Thai).

Masae, M., Kala, S. & Chatchawet, W. (2019). Effect of Self-Breast Massage Program on Milk Ejection of First-Time Mothers. Princess of Naradhiwas University Journal, 11(3), 1-14. (in Thai).

Panngam, N., Theerasopon, P. & Ungpansattawong, S. (2012). The Effect of Warm Moist Polymer Gel Pack Comparison on the Onset of Milk Production in Primiparous Mother. Journal of Pharpokklao Nursing College, 27(1), 28-38. (in Thai).

Pingwong, K., Kantaruksa, K. & Chaloumsuk. N. (2020). Effectiveness of Breast Engorgement among Lactating Mother: A Systematic Review. Nursing Journal, 47(2), 143-154. (in Thai).

Polit, D., & Beck, C. T. (2012). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (9th ed.). Philadelphia, PA: lippincott Williams and Wilkins.

Srithupthai, K., Hongsuwan, N., Phoochaichot, A. & Phromd, I. P. (2015). Herbal Formulas Developed to Reduce Maternal Postpartum Breast Engorgement. SNRU Journal of Scie and Technology, 7(2), 33-39. (in Thai).

World Health Organization, Department of Maternal Newborn Child and Adolescent Health (MCA). (2013). Long- term effects of breastfeeding. A systematic review: WHO Library Cataloguing-in-Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-27