การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุชาดา นิ้มวัฒนากุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรนุช ประดับทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธิดารัตน์ คณึงเพียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุขุมาล แสนพวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การพยาบาลผู้ใหญ่, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาพยาบาล หลังได้รับการเรียนรู้แบบผสมผสาน ดำเนินการงาน เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ โดยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนแบบผสมผสานฯ ตามแนวคิดของ Carmen (2005) โดยทดสอบคุณภาพของรูปแบบฯ แบ่งเป็น การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 3 คน การทดลองกับกลุ่มขนาดเล็ก จำนวน 10 คน และนำผลการทดลองมาปรับปรุงรูปแบบและนำไปทดลองใช้จริง และระยะที่ 3 ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ โดยการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง แบบวัดสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 โดยค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ วิธีการวัดและประเมินผลมีความยุติธรรม รองลงมาคือ อาจารย์สนับสนุนความตั้งใจในการสืบค้นและช่วยเสาะหาวิธีการสืบค้น นักศึกษามีความต้องการให้มีกิจกรรมกลุ่มและวิดีโอที่หลากหลาย พัฒนาสื่อประกอบการสอนวิดีโอและแผนผังความคิด

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานฯ ตามแนวคิดของคาเมนท์ ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) บรรยายแบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้จากสื่อวิดีโอโดยผู้เรียนและผู้สอนอยู่ร่วมกันในเวลาเดียวกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบออนไลน์ร้อยละ 40 บรรยายในห้องเรียนร้อยละ 60 2) บทเรียนบน Google Classroom 3) การวิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่ม 4 บทเรียน 4) ทำแบบทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 5) ศึกษาค้นคว้าในฐานข้อมูลออนไลน์

3. เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนำตนเอง และสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศพบว่าหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-3.062, p<.01; t=-12.474, p<.001) และ นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 ระยะ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้แนวคิดของคาร์เมนท์สามารถส่งเสริมสมรรถนะเรียนรู้แบบนำตนเอง เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนในรายวิชาทางการพยาบาลในภาคทฤษฎีได้ และในการศึกษาต่อไปควรศึกษาเปรียบเทียบกับการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญหน้าหรือแบบออนไลน์   

Author Biography

ธิดารัตน์ คณึงเพียร, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

Ph.D (nursing science)

References

Carman, J. M. (2005). Blended Learning Design: Five Keys Ingredients. (online) Retrieved May 31 , 2021 from http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20L.pdf.

COMAS-QUINN, A. (2011). Learning to Teach Online or Learning to Become an Online Teacher: an Exploration of Teachers’ Experiences in a Blended Learning Course. European Association for Computer Assisted Language Learning, 23(3), 218–232. .doi.org/10.1017/S0958344011000152

Gouifrane, R., Lajane, H., Belaaouad, S., Benmokhtar, S., Lotfi, S., Dehbi, F., & Radid, M. (2020). Effects of a Blood Transfusion Course Using a Blended Learning Approach on the Acquisition of Clinical Reasoning Skills among Nursing Students in Morocco. International Journal of Emerging Technologies in Learning (iJET), 15(18), 260-269.

Jang, H. J., & Hong, S. Y. (2016). Effect of Blended Learning in Nursing Education. International Journal of Multimedia and Ubiquitous Engineering, 11(5), 297-304.

Jeffrey, L. M., Milne, J., Suddaby. G., & Higgins, A. (2014). Blended Learning: How Teachers Balance the Blend of Online and Classroom Components. Journal of Information Technology Education: Research, 13, 121-140. Retrieved May 31 , 2021 from http://www.jite.org/documents/Vol13/JITEv13ResearchP121-140Jeffrey0460.pdf

Kachapai, M., Onming, R., Pradubwate, & Wongyounoi, S. (2015). The Development of a Blended Instructional Model to Enhancing Knowledge and Competency on Educational Innovation and Information Technology for Bachelor of Education Students of Srinakharinwirot University. Social Science of Research and Academic, 29 (10), 71-86. (in Thai)

Kim, S. D. (2014). Effects of a Blended Learning Program on Ethical Values in Undergraduate Nursing Students. Journal of Korean Academy of Nursing Administration, 20(5), 567-575.

Kotra, P., Phoklin, S., & Krommuang, A. (2017). A Scenario of Educational Management of Undergraduate Nursing Curricula in the Context of ASEAN Community. Journal of Health Science Research, 11(2), 18-27. (in Thai)

Panyoyai, P., & Laser, P. (2020). Effective Instructional Design During the COVID-19 Pandemic: Lesson Learned from Teaching the Gerontological Nursing Practicum in Community. APHEIT Journal of Nursing and Health, 3(3), 1-18. (in Thai)

Poapanoa, S. (2012). The Study of Information Technology and Communication Competencies for Learning of Undergraduate Students in Rajamangala University of Technology Rattanakosin Wangkraikangwon Campus. Veridian E-Journal, Silapakorn University, 5(1), 541-561. (in Thai)

Ponsingchan, S. Course Specification of Adult Nursing 1 Subject. (2020). Boromarajonani College of Nursing, Surin. Praboromrajanok institute. (in Thai)

Pradubtong, O. Course Specification of Adult Nursing 2 Subject. (2020). Boromarajonani College of Nursing, Surin. Praboromrajanok Institute. (in Thai)

Prasert, S. (2011). The Self Directed Learning Questionnaire Cited in Paladkong. (2019). The Development a Learning Model Using Scaffolding Technique to Encourage Self-Directed Learning Among Students in The Distance Education System. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of Requirements for Doctor of Philosophy (Applied Psychology) Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Sankas, S., Woraratpanya, K., & Krootjohn, S. (2013). A Development of Content and Activity Blended Learning Model on Computer Programming. The Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University, 4(2), 80-94. (in Thai)

Sriboonpimsuay, W. (2015). Factors Influencing Self-directed Learning of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Udonthani. Journal of Nursing and Education, 7(4), 74-91. (in Thai)

Tantranont, K., Tuanrat, W., & Kaewthummanukul, T. (2018). The Application of a Blended Learning Approach to an Epidemiology Course. Nursing Journal, 45(1), 100-109. (in Thai)

Thungkanai, K. (2021). New Normal Blended Learning in a New Normal. Journal of Educational Studies, 15(1), 29-43. (in Thai)

Xuto, P., Niyomkar, & Yothayai, C. (2014). The Effect of Using Blended Learning to Improve Nursing Students Information Technology Competency as a way to support Training for Fourth Year Nursing Student, Faculty of Nursing, Chiang Mai University. Journal of Nursing and Education, 7(4), 156-167. (in Thai)

Yimyam, S., et al. (2015). Developing on Blended Learning for Developing the 21st Century Learning Skills Nursing journal, 42 (Supplement), 129-140. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-26