ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงแก่ญาติผู้ดูแลในโรงพยาบาลคลองเขื่อน
คำสำคัญ:
ญาติผู้ดูแล, การป้องกันแผลกดทับ, ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงบทคัดย่อ
แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงแก่ญาติผู้ดูแล แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ดูแลหลักที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน ให้ได้รับโปรแกรมที่ส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โดยการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติในการป้องกันการเกิดแผลกดทับขณะอยู่โรงพยาบาล และเมื่อกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2563 เป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 33 คน ได้รับการดูแลตามแนวทางการพยาบาลของโรงพยาบาล เครื่องมือของการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลกดทับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .71 2) แบบคัดกรองผู้ป่วย 3) แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ดูแล ความรู้เกี่ยวกับแผลกดทับและการป้องกันป้องกันการเกิดแผลกดทับมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .77 และ พฤติกรรมการป้องกันแผลกดทับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .85 เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับแผลกดทับและการป้องกันการเกิดแผลกดทับ และพฤติกรรมการป้องกันแผลกดทับ สูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) นอกจากนี้ ยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>.05)
สรุป การวิจัยในครั้งนี้ ควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับแผลกดทับและการป้องกัน รวมไปถึงฝึกทักษะให้แก่ญาติผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกด ทั้งขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้ต่อไป
References
Chobchuen, R. Nursing care in pressure sore. Srinagarind Med J., 2013; 25 (Supplement): 41 – 46. (in Thai)
Mamom, J. The Nurses Role and Pressure Ulcers: Challenge in prevention and management. Thai Science and Technology Journal, 2012; 5 (Supplement): 478 – 490. (in Thai)
Baumgarten, M., Margolis, D., Berlin, JA., et al. Risk factors for pressure ulcers among elderly hip fracture patients. Wound Repair Regen, 2003; 11: 96–103.
Whitty, JA., Mclmmes, ET., Webster, J., Gillespie, BM., et al. The cost-effectiveness of a patient-centered pressure ulcer prevention care bundle:Findings from the INTACT cluster randomized trial. IJNS, 2017; 75: 35-42.
Suttipong, S. & Sinduh, S. Factors predicting development of pressure ulcer in non-diabetic elderly stroke patients. Journal of Nursing Science, 2011; 29 (Supplement): 113 – 123. (in Thai)
Chawalitsupasearani, P. Comparison of pressure ulcer risk factor and caregivers’ capacity on prevention of pressure ulcer development among hospitalized stroke patients. Thesis for the Degree of Master of Nursing Science (Adult Nursing) Songkla: Prince of Songkla University, 2010. (in Thai)
Thaipradit, S. Impact of a skin humidity control program on skin integrity and pressure ulcers in elderly patients with pressure ulcer risks. Thai Journal of Nursing Council, 2014; 19(1): 43 – 54. (in Thai)
Orem, D. E. Nursing: Concepts and practice. 6thed. St. Louis: MO: Mosby-YearBook, 2001.
Medical Record Department, Klong Khuen Hospital, 2017 – 2019.
Mahoney, FI. & Barthel, DW. Functional evaluation: The Barthel Index. Maryland State Medical Journal, 1965; 14(1): 56 - 61.
Department of Nursing. The Braden Scale for predicting pressure sore risks. Bangkok: Siriraj Hospital, 2013. (in Thai)
National Pressure Ulcer Advisory Panel. National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP) announces a change in terminology from pressure ulcer to pressure injury and update the stages of pressure injury. April 13, 2016.
Bloom, BS., Englehart, M., Furst, E., Hill, W., Krathwohl, D. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. New York: Longmans Green, 1971.
Ingwu, JA., Nwaordu, AH., Opara, H., Israel, OE., Ogbogu, C. Caregivers' knowledge and practice toward pressure ulcer prevention in national orthopedic hospital, Enugu, Nigeria. Niger Journal Clinical Practice, 2019; 22: 1014 - 1021.
Usahapiriyakul, S., Changmai, S., and Leelahakul, V. The effects of caring program on caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention in dependent older patients at risk group. The Journal of Faculty of Nursing, Burapha University, 2019; 27(4): 21 – 31. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.