ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนวิชา การสื่อสาร การสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสาร
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, ความวิตกกังวล, ทักษะการสื่อสารบทคัดย่อ
การเตรียมความพร้อมก่อนเรียนเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษามีความตื่นตัวในการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ สามารถเชื่อมโยงความรู้จากภาคทฤษฎีสู่การทดลอง ทำให้มีความพร้อมและมั่นใจ ส่งผลให้ความวิตกกังวลลดลง จากการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2562 พบว่า ผู้เรียนไม่สามารถนำความรู้เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงได้ เนื่องจากการเผชิญต่อความเครียด ขาดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความวิตกกังวลที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน และผลลัพธ์การเรียนรู้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนวิชาการสื่อสาร การสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ ต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารของนักศึกษาพยาบาล เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความเครียด โปรแกรมการเตรียมความ
พร้อมก่อนเรียน แบบประเมินการใช้ทักษะการสื่อสาร แบบประเมินความวิตกกังวล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) เปรียบเทียบความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 10.632) 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสาร พบว่า ในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -3.287) 3) คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลและความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสาร พบว่า คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน (t=-2.035)
สรุป ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกทักษะ เพื่อลดความวิตกกังวลและเพิ่มพูนความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารของนักศึกษา
References
Bundasak, T., Chaowiang, K., Jungasem, N., Rojana, S., and Thainkumsri, K. Affecting Factors on Nursing Students Anxiety while Practicing in Intensive Care Unit. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center, 2017; 34(1): 6-16. (in Thai)
Huaisai, T. Effective of Cognitive Behavioral Therapy for Nursing Practice in Psychiatric Ward on Anxiety of Nursing Students in Udonthani Nursing College. Research and Development Health System Journal, 2018; 11(2): 430-8. (in Thai)
Jamjang, S., Atthamaethakul, W., and Pitaksin, D. The Effect of Readiness Preparation for Nursing Practice in Ward of 2nd Year Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 2018; 20(3): 147-63. (in Thai)
Nilati, J., Srinor, P., Wongjumpa, S., and Singsanun, N. Effects of Academic Service Integration with Teaching and Learning in Teaching and Counseling in Health Subject on Competencies of the Health Teaching of Nursing Students. Mahasarakham Hospital Journal, 2018; 15(1): 30-40. (in Thai)
Sinthuchai, S. & Ubolwan, K. Fidelity Simulation-based Learning: Implementation to Learning and Teaching Management. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 2017; 18(1): 29-38. (in Thai) 6. Thanaroj, S. Simulation-based Learning in Principles and Techniques Course in Nursing Practicum. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 2017; 9(2): 70-84. (in Thai)
Bandura, A. Social Foundations Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall, 1986.
Kolb, D. A. Experiential Learning: Experience as The Source of Learning and Development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, 1984.
Burn, N. & Grove, S. K. The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique, and Utilization. 5th ed. St.Louis, Mo: Elsevier Saunders, 2005.
Namdej, N. & Dejpitaksirikul, S. The Effect of Readiness Preparation Program for Nursing Practice in Psychiatric Ward on Anxiety of Nursing Students. Saraburi: Boromarajonani College of Nursing, Saraburi, 2002. (in Thai)
Department of Mental Health. Stress Test Questionnaire (ST5) [online]. 2016 [cited 2020/11/2]. Available from: https://www.dmh.go.th/test/download/files/qtest5.jpg (in Thai)
Photaworn, P. & Wongpradit, S. Experience in Breathing Meditation Practicing for Decreased the Tension in Testing Maternal-newborn and Midwifery 2 Subject of Nurse Student. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2017; 4(1): 171-9. (in Thai)
Ratanasuwan, W., Wongchaiya, P., and Injeen, J. The Development of Training Model for Nursing Educators for Reducing Students’ Anxiety in Clinical Practice. JOURNAL OF NURSES’ ASSOCIATION OF THAILAND, NORTH-EASTERN DIVISION, 2013; 31(3): 68-78. (in Thai)
Suwannakeeree, W., Julmusi, O., and Tangkawanich, T. Simulation-based Learning Management for Nursing Students. Journal of Nursing Science, Chulalongkorn University, 2016; 28(2): 1-14. (in Thai)
Sondee, S., Khamsri, R., and Prapasorn, W. Effect of a Nursing Practicum Preparation Program on the Level of 21st Century Skill among Nursing Students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2020; 7(1): 281-92. (in Thai)
Intason, S. COVID - 19 and Online Teaching Case Study: Web Programming Course. Journal of Management Science Review, 2020; 22(2): 203-14. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.