การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ตามแนวคิด ADDIE Model เรื่อง การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง

ผู้แต่ง

  • สมดี อนันต์ปฏิเวธ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • วารุณี ทับทิมทอง คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • อุไรวรรณ ซินมุข คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง, นักศึกษาพยาบาล, แอดดี้ โมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง  เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยการใช้สื่อวิดีทัศน์ และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสื่อวีดิทัศน์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อวิดีทัศน์ เรื่องการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง ตรวจ สอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้านความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน นำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่า 1.00 และนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้น ผลของการประเมินอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.29 แบบทดสอบวัดความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อสื่อวิดีทัศน์  ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .67-1.00 และ .67-1.00  แบบทดสอบวัดความรู้ หาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของ Kuder-Richardson:KR-20 ได้ค่า .82 แบบประเมินความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์นำมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของครอนบาค ได้ .93 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน

ผลการวิจัย 1) ผลการพัฒนาสื่อตามรูปแบบ ADDIE 5 ขั้นตอน มาจัดทำเป็นบทโทรทัศน์ มีจำนวน 5 ตอน คือ บทนำ ลักษณะของทารกเกิดก่อนกำหนด การประเมินสภาพทารกเกิดก่อนกำหนด ความผิดปกติของทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง และการวางแผนการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง ความยาวรวม 1 ชั่วโมง 24 นาที 24 วินาที แต่ละตอนมีแบบฝึกหัดท้ายบท รูปแบบการนำเสนอ มีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อความ ภาพเคลื่อนไหว  และภาพกราฟิก 2) ประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ เท่ากับ 86.47/87.89 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 85/85 3) ความรู้ เรื่องการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีภาวะเสี่ยงสูง หลังการใช้สื่อวีดิทัศน์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 25.15, p < .001) 4) ความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขี้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.63, S.D. = .61)

 สรุป สื่อการสอนวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้น เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ อาจารย์สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการสอน และให้นักศึกษานำไปใช้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองนอกเวลา ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาความรู้ให้กับนักศึกษา

References

Saengthaweesin W., Bunkasiddej S., Kanchanapattanakul W., and Horpaopan S. Preterm. In Makornsan, C., Editor. Thailand Medical Service Profile 2011-2014. Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2014. (in Thai)

Russell R. B., Green N. S., Steiner C. A., Meikle S., Howse J. L., Poschman K., et al. Cost of Hospitalization for Preterm and Low Birth Weight Infants in the United States. Pediatrics, 2007; 120(1), 1-9.

Apichutboonchock S. The Development of a Case Study Learning Model for Developing Student Nurses’ Competency in Respiratory Assessment in a Newborn Intensive Care Unit. Vajira Medical Journal, 2015; 59(3): 25-34. (in Thai)

Lamchang S., and Kiatwattanacharoen S. Effects of Self-learning by Using Multimedia on Knowledge and Self-Confidence in Nursing Practice for Children with Acute Respiratory Tract Infection among Nursing Students. Nursing Journal, 2014; 41(2): 107-116. (in Thai)

Raksatham S., Wattanachai P., and Noothong J. The Development of Video Lesson on Oxygen Therapy in Children for Nursing Students at Boromrajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research, 2019; 35(3): 185-198. (in Thai)

Thaweesook P. Suvithayasiri K, and Wangchom S. The Development of Video Lesson on Leopole’s Maneuvers for Nursing Students at Boromrajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Boromrajonani College of Nursing, Bangkok, 2019; 35(1): 264-276. (in Thai)

Sanongdej W., Wangpitipanit S., Chonsin P., and Chalermpichai T. Development and Effect of Video Media Combined with Scenario on Knowledge and Self-confidence in Practice of Occupational Health Nursing for Nursing Students. Rama Nurs J, 2018; 24(1): 94-107. (in Thai)

Pinar G., Akalin A., and Abay H. The Effect of Video Based Simulation Training on Neonatal Examination Competency among Turkish Nursing Students. European Scientific, 2016; 12(15): 394-405.

Kruse K., and Keil J. Technology-based Training: The Art and Science of Design, Development, and Delivery. Mishawaka: Wiley & Sons, Incorporated, John; 1999.

Brahmawong C. Development Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 2013; 5(1): 7-19. (in Thai)

Wattanachai P., and Yingrengreung S. The Development of Video Lesson on Nasopharyngeal and Oral Suction in Children for Nursing Students at Boromrajonani College of Nursing, Bangkok. Journal of Health and Nursing Research, 2019; 35(2): 210-223. (in Thai)

Siricharoenwong K., Mataputana M., Sawanggjid S., and Pidjadee C. Development and Effectiveness of Video Media to Knowledge, Self-confidence and Satisfaction of Nursing Students in Preparation for Children and Adolescence Care Practicum Experience. Journal of Health and Nursing Research, 2021; 37(1): 218-229. (in Thai)

Namdej N. Ubolyaem D., Rangdang N., and Luengprateep P. Development of Learning Multimedia about Nursing Care of Anxiety Disorders for Nursing Students. Journal of Nursing and Education, 2021; 14(1): 48-62. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย