สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาสถาบันสู่องค์กรสมรรถนะสูง ของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • นงณภัทร รุ่งเนย วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ศิริพร ครุฑกาศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • ชุติมา มาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ปานทิพย์ ปูรณานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, องค์กรสมรรถนะสูง, วิทยาลัยพยาบาล, ประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบผสมผสานนี้เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคของการบริหารงานและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาสถาบันสู่องค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกตามนโยบายประเทศไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิธีการเชิงปริมาณ คือ อาจารย์พยาบาล จำนวน 295 คน และวิธีการเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางพัฒนาสถาบันสู่องค์กรสมรรถนะสูง ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .95 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

     1. ค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันในการบริหารสถาบันสู่องค์กรสมรรถนะสูงอยู่ในระดับมาก (M=3.82, SD=.48) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเปิดกว้างทางความคิดและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ (M=3.97, SD=55) ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านคุณภาพของบุคลากร (M=3.60, SD=60) ปัญหาอุปสรรคในการบริหารสถาบันสู่องค์กรสมรรถนะสูง ความถี่สูงสุด ได้แก่ อาคารและสถานที่ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 52.88) สำหรับความถี่ต่ำสุด ได้แก่ โครงสร้างองค์กรไม่เหมาะสม (ร้อยละ 9.15) องค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาล คือ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ บุคลากรมีศักยภาพสูง มีผลิตภาพและนวัตกรรมสร้างสรรค์ มีศักยภาพในการแข่งขัน และมีการบริหารจัดการที่ดี

     2. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสถาบันสู่องค์กรสมรรถนะสูงของวิทยาลัยพยาบาลตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 1) การส่งเสริมความเป็นอิสระในการดำเนินงาน 2) การยกระดับคุณภาพผลผลิตอย่างก้าวกระโดด 3) การเปิดกว้างทางความคิดและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติ 4) การพัฒนาคุณภาพของการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์แบบมืออาชีพและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี 5) การยกระดับคุณภาพของบุคลากรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และ 6) การมุ่งเน้นผลลัพธ์ระยะยาวที่มีคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน

     ดังนั้นวิทยาลัยควรพัฒนาแผนกลยุทธ์โดยกำหนดวิสัยทัศน์และภาพอนาคตที่ท้าทาย ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีสมรรถนะสูง พัฒนาการบริหารจัดการมุ่งผลลัพธ์โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงาน และจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอย่างเพียงพอ

References

Bonsu, S., & Twum-Danso, E. (2018). Leadership Style in the Global Economy: A Focus on Cross-cultural and

Transformational Leadership. Journal of Marketing and Management, 9(2), 37-52.

Brokaw, G. S., & Mullins, J. M. (2006). In Pursuit of Higher Performance-Part I. Public Manager, 35(4), 28.

Brown, S. (2015). Virtual University–Real Challenges: Infrastructure and Faculty Support at De Montfort University.

[Internet]. 2015 [cited 2021 Dec 6]; Available from: https://www.che.de/wpcontent/uploads/upload/

Veranstaltungen/CHE_Vortrag_Brown_PK71.pdf

Certo S. C., & Peter, J. P. (1991). Strategic Management: Concept and Applications. New York: McGraw-Hill.

Chaiprasi S., Kulophas D., & Siribanpitak. P. (2016). Management Strategies for Enhancing High Performance

Organization of Nursing Colleges Under the Ministry of Public Health. Boromarajonani College of Nursing,

Uttaradit Journal, 8(2), 112-130. (in Thai)

De Waal, A. (2012). Characteristics of High Performance Organizations. Journal of Management Research, 4(4), 39-71.

Edwards, S., & Ashida, A. (2021). Higher Education in Japan: Internationalization, the Sustainable Development Goals

and Survivability. International Journal of Comparative Education and Development, 23(2), 104-119.

Epstein, M. J., & Manzoni, J. F. (2004). Performance Measurement and Management Control: Superior Organizational

Performance. Amsterdam: Elsevier.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological

Measurement.

Krippendorff, K. (2013). Content Analysis: An Introduction to its Methodology. 3rd Edition. LA: SAGE Publication.

Mahat, M., & Goedegebuure, L. (2016). Strategic Positioning in Higher Education: Reshaping Perspectives. In Theory

and Method in Higher Education Research. Emerald Group Publishing Limited, 2, 223-244.

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2021). Education Criteria for Performance

Excellence, 2020-2023. Bangkok: Ammarin Printing and Publishing. (in Thai)

Nkang, I. E. (2013). Challenges of Globalization and Quality Assurance in Nigerian University Education. International

Education Studies, 6(1), 207-215.

Office of the Higher Education Commission. (2017). 20 Year Long-Term Higher Education Plan 2018-2037. Bangkok:

Phrik-whan Graphic. (in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission. (2017). Manual of Assessing Government Agencies according

to the Standards for Improving the Efficiency of Government Agencies in the Fiscal Year 2017. Bangkok: OPDC. (in

Thai)

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2017). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice (10th ed.).

Philadelphia: Wolters Kluwer.

Posthuma, R. A., Campion, M. C., Masimova, M., & Campion, M. A. (2013). A High Performance Work Practices

Taxonomy: Integrating the Literature and Directing Future Research. Journal of management, 39(5), 1184-1220.

Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. (2018). Praboromarajchanok Institute for Health

Workforce Development Strategic Plan B.E. 2560-2564. Nonthaburi: PBRI. (in Thai)

Research Administration and Educational Quality Assurance Division, Institute for the Promotion of Knowledge

Management for Society. (2016). The Blueprint Thailand 4.0: Model for Driving towards Stability, Prosperity and

Sustainability of Thailand. Retrieved September 19, 2017 from: https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post

/blueprint-thailand-4/ (in Thai)

Schejbal, D. (2012). In Search of a New Paradigm for Higher Education. Innovative Higher Education, 37(5), 373-386.

Sukphiphat, S., Suksamran, S., & Chaowalit, S. (2017). Administrating Rangsit University to be High Performance

Organization. Journal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Science, 3(1-2), 126-135. (in Thai)

Wongwiseskul, S. (2011). The Development of High Performance Organization Strategies for Nursing Education

Institutes under The Office of Higher Education Commission Doctoral Dissertation. Bangkok: Chulalongkorn

University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย