รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงาน นักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • ธนณัฏฐ์ สากระสันต์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • จิตรา มาคะผล มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ทัศนีย์ เกริกกุลธร สถาบันพระบรมราชชนก
  • เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะ, สมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21, นักทรัพยากรบุคคล, วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยและหน่วยงานในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 41 แห่ง จำนวน 106 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น แบบทดสอบความรู้  แบบสอบถามความพึงพอใจ  แบบประเมินพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม คู่มือการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ และรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และค่า t-test  ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพ ปัญหา และความต้องการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันและค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.02, S.D. = 0.83 และ Mean = 4.19, S.D. = 1.03) ด้านการคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันและค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.65, S.D. = 0.80 และ Mean = 4.17, S.D. = 0.89) ด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันและค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.54, S.D. = 0.86 และ Mean = 4.08, S.D. = 0.91) ด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.49, S.D. = 0.80) และมีค่าเฉลี่ยโดยรวมของความต้องการส่งเสริมสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.12, S.D. = 0.91) สำหรับประเด็นปัญหาที่พบจากการสังเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความพร้อมขององค์กร ความพร้อมของบุคลากร และทักษะการเรียนรู้  2) รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ (1) แนวคิด (2) หลักการสำคัญ (3) จุดมุ่งหมาย (4) เนื้อหาสาระการเรียนรู้ ได้แก่ การมีมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ (5) กระบวนการส่งเสริมสมรรถนะ (6) วิธีการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ (7) ระยะเวลาในการดำเนินงาน และ (8) การวัดประเมินผล 
3) ประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคลของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พบว่า การปฏิบัติงานมีสมรรถนะหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า t = 9.059 และมีผลการประเมินเท่ากับ 83/90.17 โดยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง

ผลการสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสมรรถนะในการทำงาน ทั้งด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน ด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ด้านการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และด้านการคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น โดยสังเกตจากพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบดังกล่าว นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นว่าการส่งเสริมสมรรถนะด้านมนุษยสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดคุณลักษณะในการมีน้ำใจชอบช่วยเหลือ และจากการร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความรู้ ความสามารถ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตน และนำไปสู่การพัฒนานักทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ให้เป็นนักทรัพยากรบุคคลมืออาชีพในอนาคตได้ ซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะ คือ สถาบันพระบรมราชชนกควรสนับสนุนให้มีระบบและกลไก เพื่อรองรับการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมีระบบการกำกับติดตามผลการส่งเสริมสมรรถนะอย่างเป็นรูปธรรม และควรมีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ต่อการปฏิบัติงานนักทรัพยากรบุคคล โดยบูรณาการการใช้สื่อดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

References

REFERENCES
1. Human Resource Institute. Administration Management for Performance Development Handbook:
Supporting Staff. Khon Kaen: Khon Kaen University, 2007.
2. IPMA-HR. HR 2020, Shifting Perspectives: A Vision for Public Sector HR [online]. 2020 [cited 2020]. Available from: http://ipma-hr.org/hr2020
3. Praboromarajchanok Institute. Management and Human Resource Development Plan for Publication
2020–2044, 2020: 1-8.
4. Boromarajonani College of Nursing, Phare. Management and Human Resource Development
Strategic Plan 2016–2020, 2018: 25.
5. Office of the Civils Service Commission. Preparing Government Personnel in the 4.0 for Publication [online].
2017 [cited 2020]. Available from: www.dla.go.th/.../18835_1_1507193523864.pdf
6. Kaewkomintawong, W. The Essential Competencies of Human Resource Professionals Responded
to the ASEAN Economics Community Era. Human Resources and Organization Development Journal,
2014; 6(2): 103-116.
7. Schulze, A. S. Massive Open Online Courses (MOOCs) And Completion Rates: Are Self-directed Adult
Learners the Most Successful at MOOCs? A Dissertation Submitted in Partial Satisfaction of the
Requirements for the Degree of Doctor of Education in Educational Learning and Technology,
Pepperdine University, 2014.
8. Pengsawas, W. Model Development Research. Rajabhat Sakon Nakhon University Journal, 2010; 2(4): 9-11.
9. Thamjuksu, S., et al. A Functional Competency Model for Revenue Department: Human Resources
Officer. VRU Research and Development Journal Science and Technology, 2019; 14(1): 125-137.
10. Davis, Keith. Human Behavior at Work: Organizational Behavior (McGraw-Hill Series in Management).
New York: McGraw – Hill, 1977.
11. Trakoonsrit, W. Teamwork. Bangkok: Academic Promotion Center, 2006.
12. Thongjuea, T. & Thummake, P. The Guidelines for Human Resource Development in the 21 Century
According to Educational Dimension. Journal of MCU Peace Studies, 2017; 5(3): 391-403.
13. Sreesanchai, L. Rajabhat Maha Sarakham University. Journal of Modern Learning Development, 2019;
4(2): 18-19.
14. Suanmali-Nantananate, C. Adult Learning Theories: Seefah Stationery Shop. Lifelong Education
Department, Faculty of Education, Silapakorn University, 2017.
15. Linder, P. L. An Analysis of Self-directed Learning of First Year, First Generation College Students.
A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of
Philosophy Department of Adult, Career and Higher Education, College of Education, University
of South Florida, 2013.
16. Snyder, L. G. & Snyder, M. J. Teaching Critical Thinking and Problem-solving Skills. Delta Pi Epsilon
Journal, 2008; (50)2: 90-99.
17. Guilford, J. P. Traits of Creativity. In Anderson, H.H., Ed.: Creativity, and Its Cultivation. New York:
Harper & Row, 1959: 142-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-24