ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการรู้คิดและความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้น

The Effects of Group Activity to Promote Awareness on the Cognitive Abilities and Knowledge of Dementia in Elders with Mild Cognitive Impairment

ผู้แต่ง

  • สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์ กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • วัลลภา อันดารา กองการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ

คำสำคัญ:

ภาวะสมองบกพร่องระยะต้น, ความสามารถในการรู้คิด, กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้ต่อความสามารถในการรู้คิด และความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้นโดยใช้แนวคิดของ Spector            กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกโรงเรียนผู้สูงอายุเขตสายไหมกรุงเทพมหานคร ที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้นจำนวน 33 คน  ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง คือก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pre – Post-Test) กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ประกอบด้วยชุดกิจกรรมตามแนวคิดการรับรู้ตามความเป็นจริงและแนวคิดการกระตุ้นการรู้คิด ดำเนินการจำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่คู่มือดำเนินกิจกรรมกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องระยะต้น และแบบบันทึกในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (TMSE) ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อม ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลส่วนบุคคลผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 75.76)       เป็นเพศหญิง(ร้อยละ 76.79) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 48.48) ไม่มีอาชีพ (ร้อยละ 39.39)      ไม่มี (ร้อยละ 30.30) ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 83.33) และโรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง(ร้อยละ 42.43) 2) ภายหลังหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถในการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้นเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้อย่าง           มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้น      ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

สรุป กิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้สามารถ ได้เพิ่มความสามารถในการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำหน้าที่การทำงานของสมองของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องระยะต้นได้

References

REFERENCES
1. Miller, C. A. Nursing for Wellness in Older Adults. 5th ed. New York:Lippincott; 2009.
2. Aykpálaagon ,W. and others. Public Health Survey by Physical Examination 5th. Bankok: Graphic and Design Font Publisher; 2014. (in Thai)
3. Ferri, C. P., Prince, M., Brayne, C., Brodaty, H., Fratiglioni,L., Ganguli, M., Scazufca, M. Global Prevalence of Dementia: A Delphi Consensus Study. The Lancet Journal, 366(9503), 2112-2117; 2005.
4. Institute of Neurology, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Guidelines for Dementia Practice. 2nd edition. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2008. (in Thai)
5. .Chansiriganjana, S.Texbook of Geriatrics, Geriatrics. Institute of Gerontology, Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health.2008. (in Thai)
6. Chunharat,S. Situation of the Thai Elderly 2009. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute; 2010.(in Thai)
7. Meuangpaisan, W. Dementia in the Elderly and Prevention. In: Asasontachai. P. Editor. Common Health Problems in the Elderly and Prevention. 4th ed., Bangkok: Department of Preventive and Social Medicine Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University; 2013. Page 129-159. (in Thai)
8. Aeptaisong,O. A Shesisynt of Research on Memory Training in Older Adults with Dementia. Master of Nursing Science (Mental Health and Psychiatric Nursing) Graduate School Mahidol University; 2010. (in Thai)
9. Leifer, B. P. Alzheimer's Disease: Seeing the Signs Early. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners, 21, 588–595.2009.
10. Lortrakul,M., and Sukchanich,P. Psychiatry. 3rd ed..Bangkok:Departmen of Psychiatry - Science, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital,University of Mahidol. 2555.(In Thai)
11. Department of Medical Services, Ministry of Public Health. The Manual to Developing the Brain's Potential Impaired brain function Early. 1st. ed. Bangkok; Cyber Print Group Company.2017. .(In Thai)
12. Suwanmosi ,P.and Ketphichayawattana, J. The Effects of cognitive Stimulation Programs on Memory of Community Dewlling Older Person with Mild Cognitive Impairment. Journal of the Police Nurses , 8 (2): 45-57. 2016.
13. Jarernpong.C. Effectiveness of a Health Promotion Program. And Brain Exercise on
Performance The Brain of the Elderly in Ban Na San District, Surat Thani Province
Journal of Nursing Public Health : 19 (3) :134-144. 2018. (in Thai)
14. Chaiwong.P Rattakorn. P. and Mumkhetvit P. Effects of Cognitive Training Program on Cognitive Abilities and Quality of Life in Elderly with Suspected Dementia Journal of Medical Technology, Chiang Mai.48(3):181-191.2015. (in Thai)
15. Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an Evidence-Based Cognitive Stimulation Therapy Programme for People with Dementia. The British Journal of Psychiatry 2003; 183(3): 248-54. (in Thai)
15. Ramking, N., Soonthornchaiya, R.,Vuthiarpa, S. The Effect of a Cognitive Stimulation Program on The Cognitive Function of Older Adults with Mild Cognitive Impairment. Journal of Nursing and Health Care, 36 (2) :114-122. 2018; (in Thai)
16. Ramking.N. Soonthornchaiya .R. and Vuthiarpa .S. The Effect of a Cognitive Stimulation Program on The Cognitive Function of Older Adults with Mild Cognitive Impairment. Journal of Nursing and Health Care. 36 (2): 2018. (in Thai)
17. Trakulsithichoke, S., Suwan, A. Effects of a Cognitive Stimulation Program on the
Cognitive Abilities and Ability to Perform the Activities of Daily Living in Elders
Who are at Risk of or have Dementia. Thai Red Cross Nursing Journal,9(2):
145-57;2016. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-11

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย