รูปแบบการบริหารการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล

Education Administration Model for 21st Century Skills Development of Nursing Students

ผู้แต่ง

  • ชุติมา มาลัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • นฤมล จันทร์สุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • สิรภพ โตเสม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • จารุณี จาดพุ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารการศึกษา, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานการบริหารการศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารการศึกษา 4) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบและยืนยันรูปแบบ ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ปีการศึกษา 2561 จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) แบบสอบถามประสิทธิผลของรูปแบบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ โดยพบว่ารูปแบบการบริหารการศึกษาฯ แบ่งเป็น
3 ส่วน ส่วนที่ 1 ที่มาของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) เป้าหมายรูปแบบ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) แนวคิดหลักการพัฒนา คือ การบริหารแบบมีส่วนร่วมและวงจรคุณภาพ ส่วนที่ 2 รูปแบบการบริหารการศึกษา มีชื่อว่า 4S–“PSPS-PRACTICE” โดยโครงสร้างหลัก คือ “4S" ส่วน PSPS เป็นขั้นตอนย่อยในแต่ละโครงสร้าง ดังนี้ S1: Strategic Management (การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์) S2: A Paradigm Shift for 21st Century (การพัฒนาอาจารย์เพื่อปรับกระบวนทัศน์สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21) S3: Learning Strategic Management (การจัดการเรียนรู้เชิงกลยุทธ์) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ จึงพัฒนาแนวการปฏิบัติเรียกว่า“PRACTICE” ได้แก่ 1) การวางแผนการจัดการเรียนรู้ P: Preparation for Learning 2) การสร้างสัมพันธภาพและความตระหนักรู้คุณค่าตนเองและผู้อื่น RA: Relationship Skills and Awareness
3) สะท้อนคิดเพื่อสรุปองค์ความรู้ C: Create of Concepts 4) นำความรู้ไปปฏิบัติ TI: Take to Implement   5) เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง C: Continuous Active Learning 6) ติดตามและประเมินผล E: Evaluation
และ S4: Learning Society (การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้) และ ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ นำเสนอเป็นกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารการศึกษา ผลลัพธ์การดำเนินงานตามรูปแบบ พบว่า

  • ผลประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยระดับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก่อนใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 3.50 หลังการใช้รูปแบบ มีค่าเฉลี่ย (Mean) เท่ากับ 3.83 โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อพิจารณาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รายทักษะพบว่า ทุกทักษะมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
  • ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (Mean=4.02) ความพึงพอใจต่อการสอนรายวิชาที่ดำเนินการสอนตามรูปแบบ ก่อนใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.24 หลังการใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.37 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ในภาพรวมความพึงพอใจก่อนใช้รูปแบบ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.19 และหลังการใช้รูปแบบ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.57 โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

References

REFFERENCES
1. Pruettikul, S. Educational Administration for Change in 21st Century. Journal of Education, 2017; 28(2): 36-49. (in Thai)
2. Guofang, W. and Dianne, M.G. Bringing Schools into the 21st Century. Springer Science & Business Media B.V., 2011.
3. Saraketrin, A., Rongmuang, D., Chantra, R.
Nursing Education in the 21st Century: Competencies and Roles of Nursing Instructors. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 2019; 20(1): 12-20. (in Thai)
4. Kanyaprasith, K. Socio-scientific Issues for 21st Century Skills. Journal of education, 2015; 26(3): 1-9. (in Thai)
5. Sinlarat, P. The Crisis in Education:
Idea Solution for Fixing. 2nd ed. Bangkok: Dhurakij Pundit University, 2013. (in Thai)
6. Joyce, M. Weil and Showers, M. Models of Teaching. Boston: Allyn and Bacon, 1992.
7. Ivancevich, J. M., Donnelly, J. H., & Gibson, J. L. Management: Principles and Functions. 4th ed. Boston, MA: Richard D. Irwin, 1989.
8. Tunsoungneon, B. Strategic Management in Education. “Graduate School Conference 2018”, 2018; 1(2): 322. (in Thai)



9. Nichols, R. J. 4 Essential Rules of 21st Century Learning [online]. 2019 [cited 2019/1/12]. Available from: https://www.teachthought.com/learning/4-essential-rules-of-21st-century-learning/
10. Pinitchan, O. Development of the Knowledge Management Model in Boromarajonani College of Nursing, Chainat. Journal of Nursing Division, 2019; 46(2). (in Thai)
11. Phuttaldong, P. Development Model of Knowledge Management in Poly-technical College in the Lower Northern Region. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 2015; 5(extra): 71. (in Thai)
12. Nearnhad, C. Knowledge Management for Self Development and Work Creation: A Case Study of Support Staff at Phrapokklao Nursing College. Chanthaburi Journal of Phrapokklao Nursing College, 2018; 29(2): 217. (in Thai)
13. Ploysaeng, K. Student-centered Learning. Mahachula Academic Journal, 2018; 5(extra): 13-14. (in Thai)
14. Phattanamatada, V. Strategic Learning Management [online]. 2018 [cited 2018/5/16]. Available from: http://www.kansuksa.com/45/ (in Thai)
15. Fogarty, R. J. & Pete, B. M. 21st Century Skills Rethinking How Student Learn. The United States of America: Solution Tree, 2010.
16. Nongyao, A., et al. Model of School Administration for Developing Students’ Learning Skill in the 21st Century. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 2017; (10)1. (in Thai)
17. Mezirow, J. Learning as Transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. San Francisco: Jossey-Bass, 2000.
18. Mc Allister, M. STAR: A Transformative Learning Framework for Nurse Educators. Journal of Transformative Education, 2011; 9(1): 42-58.
19. Poohongthong, C. Transformative Learning: Challenges for Instructors in Higher Education. Journal of Behavioral Science, 2018; 24(1): 165. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-02

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย