ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรกำจัดเหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนวัดมงคลรัตน์ จังหวัดปทุมธานี

Efficacy of Herbal Extracts for Eliminating Pediculosis Capitis in Primary School Children, Wat Mong Khon Rat School, Pathum Thani Province

ผู้แต่ง

  • ปัณณทัต ตันธนปัญญากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • เจียระไน ปฐมโรจน์สกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อารีรัตน์ บุตรรัศมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รุ่งฤดี มีชำนาญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เหา, สารสกัดสมุนไพร, นักเรียน, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สารสกัดสมุนไพรกำจัดเหาในนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดมงคลรัตน์ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่เป็นเหา ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่ม A1, A2, A3 และ B1, B2, B3 ซึ่งมีระยะเวลาการใช้สารสกัดสมุนไพร 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ตามลำดับ กลุ่มทดลองจะได้รับสารสกัดใบสะเดา (A. Indica) ผสมกับใบยอ (M. Citrifolia) และใบพลู (P. Betle) กลุ่มควบคุมได้รับสารสกัดใบน้อยหน่า (A. Squamosa) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1.) เครื่องมือในการทดลอง คือ สารสกัดสมุนไพรกำจัดเหา และ 2.) แบบสอบถามและตารางบันทึกผลการตรวจเหาหลังการใช้สารสกัดสมุนไพร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และสถิติการทดสอบไคสแควร์  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรจากใบสะเดา ผสมใบยอและ ใบพลูมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาสูงกว่าสารสกัดสมุนไพรจากใบน้อยหน่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) อัตราตายของเหาจำแนกตามระยะเวลาการใช้สมุนไพร พบว่า ระยะเวลาการใช้ (วัน) ของสารสกัดสมุนไพรกำจัดเหาทั้ง 2 สูตร ยิ่งมีระยะเวลาการใช้นาน สารสกัดสมุนไพรทั้ง 2 สูตรยิ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดี (p<0.05) แต่เมื่อทดสอบระยะเวลาการใช้ที่ 2 วัน และ 3 วัน ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน (p=0.458)

ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ครู และผู้ปกครอง ในการประยุกต์ใช้สารสกัดสมุนไพรจากใบสะเดา ผสมกับใบยอและใบพลูในการกำจัดเหาที่ระยะเวลาการใช้ 1 วัน และ 2 วัน เพื่อช่วยลดเหาและทำให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

References

REFERENCES
1. Vitta, A. Human Lice and Forensic Entomology. Forensic Medicine Journal, 2012: 4(2); 154-164. (in Thai).
2. Oh, JM et al. Prevalence of Pediculosis Capitis among Korean Children. Parasitol
Research journal, 2010; 107(6):1415-1419.
3. Lye, MS et al. Prevalence and Predictors of Pediculosis Capitis among Primary School Children in Hulu Langat, Selangor. Med J Malaysia, 2017; 72(1): 12-17.
4. Nantachai, K. Prevalence of Pediculus Capitis among Karen Hilltribe Students in Thasongyang District, Tak province. Faculty of Public Health and Environmental, Northern University; 2018. (in Thai)
5. Rhongbutsree, P., Saichua, P., Navaphongpaveen, K. and Taylor, A. Prevalence of Pediculosis Capitis in Handicapped Girls at Handicapped School in Khon Kaen Province. Journal of Science and Technology, 2013: 21 (1); 34-40. (in Thai).
6. Ruankham, W. Good practices in the Prevention and Control of Head Lice Infections in Nanglaenai School, Chiang Rai Province. Journal of Community Development Research, 2016: 9 (1); 173-185. (in Thai).
7. Anusai, N. Epidemiology of Pediculosis Capitis in Primary Schools Students in Warinchumrab District, Ubon Ratchathani Province. The 12th Mahasarakam University Research Conference; 8 September 2016; Mahasarakam; 2016. (in Thai).
8. Siriudompas, S. Pediculosis [Online]. 2012 [Cited 2018/09/17]. Available from: http://haamor.com/th. (in Thai).
9. Chutaen, C. Knowledge about Pediculosis Capitis, Method for Treat Pediculosis Capitis and Protective Behavior of Treat Pediculosis Capitis among Girl Primary School Students in Sing Buri Province. Khai Bang Rachan Hospital. Sing buri; 2009. (in Thai).
10. Jompitak, U. Women's Herbal Beauty Supplements. Bangkok: Central library publisher; 1994. (in Thai).
11. Puapatthanakul, O. Use of Seeds and Custard Leaves to Treat Lice Disease. Journal of the Pharmaceutical Association of Thailand,1980: 34(2); 91-105.
12 Raksamat, W. Comparative Efficacy in Lice Removal between Indian Mulberry Leaf and Chinese Star Anise of Students at Matchipoom school, Trang Province. The 4th SAU National Interdisciplinary Conference, 23-24 June 2017; Nontha Buri; 2017. (in Thai).
13. Wonganunt, B. Effect of French Marigold (Tagets patula Linn.) Against Lice (Pediculus Humans Capitis). KKU Journal for Public Health Research, 2014: 7 (3); 28-33. (in Thai).
14. Iwasawat, A et al. Formulation of Lice-Killer Herbal Shampoos: Extract from Annona Squamosa Linn., Morinda Citrifolia Linn. and Cymbopogon Nardus (Linn.). Bangkok: Faculty of Pharmacy, Sillapakorn University; 2000. (in Thai).
15. Kaennaka, P. The Study of Phytochemical and Biological Activity in the Elimination of Lice Extract
from Morinda Citrifolia Leave. Bangkok: Ban Somdet Chao Phraya Rajabhat University; 2017. (in Thai).
16. Tangkatitham, S et al. Pediculicidal Effect of Herbal Extracts Against Head Lice: Momordica Charantia Linn, Trichosanthes Cucumerina L. fruits and Lantana camara L. leaves. RSU National Research Conference 2015; 24 April 2015; Pathumthani; 2015. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-02

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย