ผลของรูปแบบการให้ข้อมูลผ่านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโพธิ์

Effects of Information Management Model for Relatives of Emergency Patients and Profession Nurse Who’s Using Emergency Medical Service System in Emergency Department of Banpho Hospital

ผู้แต่ง

  • นิตยา เดชพิทักษ์ศิริกุล โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
  • สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการให้ข้อมูล, ญาติผู้ป่วยฉุกเฉิน, ความพึงพอใจ, พยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research)  แบบ  2  กลุ่มวัดครั้งเดียวหลังการทดลอง (Randomized Control Group Posttest Only Design)  มีวัตถุประสงค์ เพื่อ             1) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจ  หลังการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามรูปแบบ กับกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติ   2) เปรียบเทียบ  ระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้รูปแบบการให้ข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาใช้บริการผ่านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน   กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน   ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ และพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวน 10 คน กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลตามรูปแบบการให้ข้อมูล 5 ขั้นตอน คือการต้อนรับญาติผู้ป่วย  การเตรียมข้อมูล  การให้ข้อมูลตามรูปแบบ  การนำไปเยี่ยมผู้ป่วยที่เตียง และการสนับสนุนให้คำแนะนำเพิ่มเติม  กลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลตามปกติ   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดความพึงพอใจของญาติผู้ป่วยฉุกเฉินและพยาบาลวิชาชีพ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ Independent t-test, Wilcoxon signed ranks test , ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านของญาติผู้ป่วยฉุกเฉินภายหลังได้รับการให้ข้อมูลตามรูปแบบการให้ข้อมูล ในกลุ่มทดลอง (mean 4.36 , S.D. 0.31)  สูงกว่ากลุ่มควบคุม (mean 3.14, S.D. 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = <0.001) และ ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านของพยาบาลวิชาชีพ หลังจากการใช้รูปแบบการให้ข้อมูล (mean3.93, S.D. 0.22)  สูงว่าก่อนการใช้รูปแบบการให้ข้อมูล (mean3.19, S.D. 0.12 )  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =  0.005)

References

1. Sangsongrit, N. Crisis in Emergency Department: Caring for Patient’s Relatives with Humanized Care Nursing. Journal of the Thai Red Cross Nurses, 2017; 10(2):
47-56.(inThai)
2. Ramkaew, K. & Oumtanee, A. Working Experience of Emergency Nurses in Tertiary Care Hospital. Journal of The Royal Thai Army, 2014; 15(3): 226-234. (in Thai)
3.Kongsuwan, W., Nilmanat, K., Matchim, Y. Barriers in caring for critically ill and dying patients in emergency rooms: nurses’ experiences. Songklanagarind Journal of Nursing, 2014; 34(3): 97-107. (in Thai)
4. Aquilera, DC. Crisis intervention. In: Birckhead LM, editor. The therapeutic use of self. Philadelphia: J.B. Lippincott; 1989. p.229-50.
5.Molter NC. Needs of relatives of critically ill patients : A descriptive study. Heart Lung, 1979; 8(2): 332-9.
6.Polit, D. F., & Hungler, B. P. Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: Lippincott. Chicago (Author-Date, 15th ed.); 1983.
7.Singdong, P. & Jitpanya, C. Caring for relatives of critically ill patients : Relatives’ perspectives. Princess of Naradhiwas University Journal, 2011; 3(3): 17-32. (in Thai)
8. King IM. A theory for nursing. New York: John Wiley & Sons; 1981.
9. Anuchon, S. Factors Effected to Client satisfaction toward the Services of the Emergency Accidental Room at Phramongkutklao Hospital. Journal of The Royal Thai Army, 2013; 14(3): 159-69. (in Thai)
10. Buaibhom, W. Needs and responses to needs of family members of patients in the intensive care unit. Uttaradit Hospital Independent Study, Master of Nursing Science Adult Nursing Program, Graduate School Chiang Mai University, 2008.
11. Dangsuwan, K., Phongsuwan, C., Gaseng, S., Srichai, P., Jeankong, B., Masae, R., et al. Perceived Information of Relatives at Emergency Department Naradhiwasrajanagarindra Hospital. Princess of Naradhiwas University Journal, 2012; 4(2): 16-28. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย