ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความรู้ ภาระการดูแล และความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

The Effects of A Self-Management Support Program on The Knowledge, Burden of Care, and Stress of the Caregivers of Patients with Traumatic Brain Injury

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ สำริดเปี่ยม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • สุนทรา เลี้ยงเชวงวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศิริลักษณ์ แก้วศรีวงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง, ความรู้ในการดูแล, ภาระการดูแล, ความเครียดของผู้ดูแล, ผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง        ต่อ ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ภาระการดูแล และความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

          กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับปานกลางหรือรุนแรง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน ด้วยการจับคู่ เครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบสอบถามความรู้ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง แบบสอบถามภาระการดูแล และแบบสอบถามความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง แบบสอบถามภาระการดูแล และแบบสอบถามความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.84, 0.80 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-Square test, Fisher’s exact test, Independent t-test และ Paired t-test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลของกลุ่มทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) คะแนนเฉลี่ยภาระการดูแล และคะแนนเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลกลุ่มทดลองแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<.001) และ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังได้รับโปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุม ส่วนคะแนนเฉลี่ยภาระการดูแล และความเครียดของผู้ดูแลกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 

          จาการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การสนับสนุนด้านการให้ความรู้ และทักษะในการจัดการตนเองในการการดูแลผุ้ป่วยบาดเจ็บสมอง สามารถลดภาระการดูแลและลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองได้

References

REFFENCES
1. World Health Organization. Global Status Report on Road Safety [online]. 2018 [cited 2019/6/30]. Available from: http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_satatus/2018/en/
2. Thailand Road Safety Current Situation of Road Safety in Thailand [Cited 2013/6/30] Available from http://trso.thairoads.org/statistic/national/N-SPI-A/N-SPI-A12N-SPI-A1-01 (in Thai)
3. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Report to Congress Traumatic Brain Injury in the United States: Epidemiology and Rehabilitation. 2015; Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention.
4. Hickey, J. V. The Clinical Practice of Neurological and Neurosurgical Nursing. (6th ed.). 2009; Philadelphia: J.B. Lippicott.
5. Li, M., Zhao, Z., Yu, G., & Zhang J. Epidemiology of Traumatic Brain Injury over the World: a Systematic Review. Austin Neurol & Neurosci, 2016; 1(2), 1-14
6. Bayen, E., Jourdan, C., Ghout, I., Darnoux, E., Azerad, S., Claire, V. A.,…Azouvi, P.
Objective and Subjective Burden of Imformal Caregivers 4 Year after a
Severe Traumatic Brain Injury: Results from the Paris-TBI Study. Journal of Head
Trauma Rehabilitation, 2014; 1, 1-9.
7. Jung-Won, L. & Zebrack, B. Caring for Family Members with Chronic Physical Illness: A Critical Rreview of Caregiver Literature. Health Qual Life Outcome, 2012; 34, 147-56.
8. Kaweepatranon, A. The Effects of a Self-Efficacy Promoting Program for Care of Stroke Patients on Caregivers During the Transition Phase from Hospital to Home. Dessertation of Master Degree of Science (Adult nursing) thammasat univercity, 2013. (in Thai)
9. Blake, H. Caergiver Stress in Traumatic Brain Injury. International Journal of
Therapy and Rehabilitation, 2013; 15(6), 263-271.
10. Harnirattisai, T., & Raethong, Parinya R. Perceived Preparedness in Caregiving among Stroke’s Caregivers. Thai Science and Technology Journal, 2013; 21(7), 634-639. (in Thai)
11. McGowan, P. Self‐Management Support. University of Victoria, 2006.
12. Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman, 1997.
13. Jaywan, PJ. Effects of Empowerment on Caring Capabilities Among Caregivers of Patients with Traumatic Brain Injury. Dessertation of Master Degree of Science (Adult nursing) Changmai Univercity, 2014. (in Thai)
14. Toonsiri, C., Sunsern, R., & Lawang, w. Development of the Burden Interview for Caregiversof Patients with Chronic Illness. Journal of Nursing and Education, 2011; 4(1), 62-75. (in Thai)
15. Montgomery, R. & Borgatta, E. The Effects of Alternative Support Strategies.
Gerontologist, PubMed, 1989; 29: 457–464.
16. Rimnin, K., Wongvatunyu, w., & Monkong, S. Gerontological Nursing Effects of the Communication Support Program on the Caregiver’s Knowledge and Self-Efficacy to Care for Stroke Patients with Communication Impairment, 2016; 22 (3), 293-309. (in Thai)
17. Junthontima, N. Effects of Coaching Program on Preparedness and Burden Among Caregivers of Older Persons with Stroke. Dessertation of master degree of science (Adult nursing) Changmai univercity, 2014. (in Thai)
18. Sawatdinaruenart, S., Sae-Sia, W., & Songwattana, P. Effects of Coaching Program on Preparedness and Burden Among Caregivers of Older Persons with Stroke, Princess of Naradhiwas University Journal, 2013; 5(2), 1-12. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-04

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย