การศึกษาภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและกลุ่มอาการเมตะบอลิค การรับรู้พฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • เวธกา กลิ่นวิชิต คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • พวงทอง อินใจ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

Diabetic Mellitus, Metabolic Syndrome, Perception, Health Promotion, Social support, University students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและกลุ่มอาการ เมตะบอลิค และศึกษาการรับรู้ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม รวมทั้ง ศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา  ประชากร คือ นิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ที่มารับบริการตรวจสุขภาพ ก่อนเข้ารับการศึกษา จำนวน 4,125 คน (หญิง 2,378 คน : ชาย 1,747 คน) ช่วงอายุ 17-21 ปี ใช้เกณฑ์การคัดเลือก(Inclusion Criteria) ตามเกณฑ์ของ IDF: International Diabetes Federation ดังนี้ คือ 1) มีเส้นรอบเอว ในผู้ชาย มากกว่า หรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร ในผู้หญิง มากกว่าหรือ       เท่ากับ 80 เซนติเมตร 2) มี 2 ปัจจัยใน 4 ปัจจัยต่อไปนี้  2.1 ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2.2 ระดับ HDL-C ในผู้ชายน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม                ต่อเดซิลิตร ในผู้หญิง น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2.3 ความดันโลหิต Systolic มากกว่า หรือ เท่ากับ 130 มิลลิเมตรปรอท  Diastolic มากกว่า หรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง 2.4  ระดับกลูโคสในเลือด FPG (Fasting plasma glucose)มากกว่า 100  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบบันทึกข้อมูล ส่วนบุคคล  แบบบันทึกการตรวจ ร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยด้านการรับรู้พฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางในการ แก้ปัญหา  ซึ่งทำการตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่า ความถี่ และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ (Content analysis) ซึ่งได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือน ตุลาคม 2549-กันยายน 2550 เป็นระยะเวลา 1 ปี  การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรม การวิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา

                ผลการศึกษาวิจัยพบว่า  มีนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและ กลุ่มอาการเมตะบอลิค จำนวน 127 คน (3.079 %) โดยพบ ความเสี่ยงใน เพศชาย (93 คน : 5.32 %) มากกว่าเพศหญิง  (34 คน : 1.43 %)  มีนิสิตที่มีขนาดรอบเอวเกินมาตรฐาน จำนวน 323 คน (7.83% , หญิง  59.44% : ชาย 40.56%) ความดันโลหิตสูง จำนวน 148 คน (3.59%) ระดับไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูง จำนวน 123 คน (2.98%) และ ระดับ HDL-C ต่ำ จำนวน 84 คน (2.36%) โดยในนิสิตที่มีเส้นรอบเอวเกินทั้งหมด พบว่า ในเพศชาย มีปัจจัยเสี่ยงด้านอื่น ๆ มากกว่า    นิสิตหญิง คือ ความดันโลหิตสูง (ชาย 9.81%, หญิง 5.73%) รองลงมา คือ ระดับไตรกลีเซอไรด์ ในเลือดสูง (ชาย 5.34% , หญิง  1.56%) และ ระดับ HDL-C ต่ำ (ชาย 3.05% , หญิง  2.15%)  และไม่พบปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับความผิดปกติของระดับกลูโคสในเลือด  (FPG) ผลการสัมภาษณ์ นิสิตเกี่ยวกับ การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พบว่า  นิสิตส่วนใหญ่ รับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคในระดับปานกลาง แต่ยังมีพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการ รับประทานอาหารการออกกำลังกายที่ยังไม่เหมาะสม  การรับรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเอง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากคิดว่า เป็นสิ่งที่ยาก เพราะเคยใช้หลาย ๆ วิธีแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดความมีวินัย ในการควบคุมตนเอง และต้องการให้           มีผู้อื่นเป็นผู้ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือสนับสนุนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ที่นิสิตรับรู้ว่า มีอิทธิพลในการส่งเสริมสุขภาพ ที่สำคัญที่สุด คือ ตนเอง รองลงมา คือ เพื่อน และบุคคลอื่น ที่เป็นตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ

Abstract

                The purpose of this descriptive research was to investigate risk of diabetes mellitus and metabolic syndrome, health perception, health promotion behaviors, and social support of           students at Burapha University. Guidelines for managing health problem were also examined. The study population comprised 4,125 students (2,378 females and 1,747 males with age ranged from 17 to 21 years) who were participated in a compulsory health examination before admission to the university. Metabolic Syndrome based on criteria of IDF definition, biochemical examination and behavioral factors, was also evaluated in all subjects studied. The study was approved by the ethics committee of Burapha University. Pender’s health promotion model and House’s social support concept were used as the frameworks for preparing the questionnaire and semi-structured         interview. Statistics employed were frequencies, percentages and content analysis.

                It was found that the prevalence of metabolic syndrome among the Burapha University students was 3.079% (127 persons); being more common among males (93 persons: 5.32%) than females (34 persons: 1.43%). 323 persons (7.83%) had high waist circumference (59.44% of them were female and 40.56% were male). The three most common metabolic abnormalities in men were high Blood Pressure (148 persons: 3.59%), hyper triglyceride (123 persons: 2.98%) and low HDL-cholesterol (84 persons: 2.36%).No incidence of high FPG was found in the       participants. Perceptions on risk of diabetes were in medium level. The study revealed a similar frequency by males and females of consumption of unhealthy snacks, dairy products and high sweetened  beverages. It was found that the new students rarely exercised. The self- image          perceptions were that they would like to control their body weight and behavior to improve their health. The  important supportive factors were self-awareness, close friends, and other role 
models. The  highest social support was emotional support to empower them to improve their habits.  Suggestions for solving these problems were more communication, reform of student’s activities based on better health, creating communication channels to initiate effective program for           controlling their body weight, better nutrition, exercise and emotional development. Moreover, a continuous student health evaluation system and screening high risk students should be done rapidly.

                In conclusion, the prevalence of metabolic syndrome and risk factors in adolescence were high. Interventions in prevention and management of students’ metabolic syndrome should be developed urgently.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย