Development of a Community Life Path Learning Model for Interdisciplinary Allied Health Professional Students via a Local Virtual Parenting System

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิถีชุมชนของนักศึกษาแบบสหวิชาชีพ โดยผ่านระบบพ่อแม่บุญธรรม

ผู้แต่ง

  • วินัย สยอวรรณ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี
  • กาญจนา นิ่มสุนทร อาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี
  • สุภานัน จิรสินธิปก อาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี
  • สายฝน ตันตะโยธิน อาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้, วิถีชุมชนสหวิชาชีพ, ระบบพ่อแม่บุญธรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการเรียนรู้วิถีชุมชนของนักศึกษาแบบสหวิชาชีพผ่านระบบพ่อแม่บุญธรรม กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบ 18 คน และกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้ 248 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย ข้อคำถามการสนทนากลุ่ม รูปแบบการเรียนรู้วิถีชุมชน แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนรู้ และแบบประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้วิถีชุมชนของนักศึกษาแบบสหวิชาชีพผ่านระบบพ่อแม่บุญธรรม ประกอบไปด้วย กิจกรรมการศึกษาวิถีชุมชน การประเมินผลการจัดกิจกรรม ซึ่งการจัดกิจกรรมการศึกษาชุมชน ประกอบไปด้วย การศึกษาแผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ การศึกษาระบบสุขภาพชุมชน การศึกษาปฏิทินชุมชน และการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิถีชุมชนของนักศึกษาแบบสหวิชาชีพผ่านระบบพ่อแม่บุญธรรม คือผลการประเมินพฤติกรรมด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.30, S.D. = 0.83) ผลการประเมินทักษะการทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.51, S.D. = 0.40)

ผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาสำหรับนักศึกษากลุ่มสายวิชาชีพด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบของนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการทำงานแบบสหวิชาชีพให้สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนต่างหลักสูตรในวิทยาลัยประกอบกับเพื่อให้มีความเข้าใจชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงได้มากขึ้น

References

REFERENCES
1. Promboon S. Development of a whole school’s science learning and instructional approach (Whole-school approach) undertheRoyal Patronageof Princess MahaChakriSirindhorn. Thai journal, 2003; 24(85): 25-32. (In Thai)
2. Weerungkorn J. Activity participation of Bachelor’s degree students in a university. Master’s Degree dissertation in forestry administration. Bangkok: Kasetsart University; 2004. (In Thai)
3. Office of higher education commission. Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) 2011; Online2011.Available from:http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/(In Thai)
4. Jaungsatiensup G. Community Lifepath: seven toolkits that make community work easy and effective. 11th edition. Nonthaburi: Sooksala; 2013. (In Thai)
5. Kittiraktrakool S. Development of a humanistic based service mind network model in colleges under the supervision ofPraboromarajchanok Institute of Health Workforce Development.Nonthaburi :Praboromarajchanok Institute of Health;2011. (In Thai)
6. World Health Organization (WHO). Framework for Action on Interprofessional Education& Collaborative Practice 2010. Online 2010. Available from: http://www.who.int/hrh/resources/framework_action/en/
7. Worawong J., et.al. Pathway for Student Identity Development at BorommarajonaniCollegeofNursing, Khonkean; [Online]. 2011.[cited 2017October7]. Available from www.bcnkk.ac.th/bcnkk/file/57/samee.docx(In Thai)
8. Jutarasaga M., et.al. Service mind learning process via humanistic approach under local virtual family. Khonkean: Klungnanavidaya Publisher, 2009. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย