Effects of Problem-based Learning to Enhance Emotional Quotient of Walailak University Nursing Students

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้แต่ง

  • เกียรติกำจร กุศล ผู้ช่วยศาสตราจารย์
  • ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร อาจารย์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • อรทัย นนทเภท อาจารย์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • รัชฎาภรณ์ จันทสุวรรณ อาจารย์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จินดารัตน์ สมใจนึก อาจารย์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความฉลาดทางอารมณ์, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล กลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในภาคการศึกษาที่ 1/2560 จำนวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า

                 1) นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 74 คน (ร้อยละ 96.1) อายุอยู่ในช่วง  20-22 ปี ผลการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเฉลี่ย 3.00-3.50 จำนวน 39 คน (ร้อยละ 50.6) รองลงมามากกว่า 3.50 จำนวน 34 คน (ร้อยละ 44.2) ผลการเรียนเฉลี่ยปัจจุบันส่วนใหญ่ 2.50-3.00 จำนวน 35 คน (ร้อยละ 45.5)  รองลงมาคือมากกว่า 3.00-3.50 จำนวน 34 คน (ร้อยละ 44.2) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมากและมากที่สุด จำนวน 68 คน (ร้อยละ 88.3)  ค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมของนักศึกษาอยู่ในระดับสูง (= 3.08, SD= .46) เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า ด้านดีและด้านสุขก็อยู่ในระดับสูง (= 3.20, SD= .51; = 3.05, SD= .54) ส่วนด้านเก่งอยู่ในระดับปกติ (= 2.98, SD= .42)

          2) เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลหลังการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยรวมพบว่า สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (= 3.08, SD= .46,  = 3.19, SD= .34); (t= 2.15, p<.05) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยด้านดีหลังการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (= 3.20 , SD= .51,  = 3.35 , SD= .34); (t= 2.55, p<.05)

ข้อค้นพบจากงานวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานช่วยส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์แก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านความเป็นคนดีในมิติความรับผิดชอบและการเห็นใจผู้อื่นซึ่งมีความโดดเด่นมาก ดังนั้นอาจารย์จึงควรสนับสนุนให้มีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาลต่อไป

References

REFERENCES
1. Wasutharat, K. Self Emotional Intelligence. Journal of Nursing Education, 2005; 16(3): 2-8. (in Thai)
2. Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Emotional quotient evaluation. Bangkok: Bureau of Mental Health. Department of Mental Health; 2000. (in Thai)
3. Goleman, D. Working with emotional intelligence. New York : Bantam Books; 1998.
4. Dolmans, D.H.J.M., Grave, W.D., Wolfhagen, I. & Vleuten Van Der, C.P.M. Problem-based learning: future challenges for educational practice and research. Medical Education, 2005; 39, 732-741.
5. Schmidt, H. G. and Moust, J. H. C. Processes that shape small-group tutorial learning: A review of research. Mastricht : Datawyse Publishing; 2000.
6. Newman, M.J. Problem-based learning: An Introduction and overview of the key features of the approach. JVME, 2005; 32(1) : 12-20.
7. Ates, O. and Eryilmaz, A. Factors affecting performance of tutors during problem based learning implementations. Social and Behavioral Sciences, 2010; 2(2): 2325–2329.
8. Alavi, C. Problem-based learning in a health sciences curriculum. London:
Routledge; 2002.
9. Williams, S.M., & Beattie, H.J. Problem based learning in clinical setting – A systematic review. Nursing Education Today, 2008; 28: 146-154.
10. Ustun, B. Communication skills training as part of a problem-based learning curriculum. Educational Innovation, 2006; 45(10) : 421-424.
11. Moopayak, K., Udomphanthurak, J., Kanyapattanopron,C., Sangchan, C., Kaesornsamut, P. Correlation between emotional intelligence and adaptive behaviors of nursing students. Journal of Nursing Science, 2015; 33(1): 55-65. (in Thai)
12. Journal of Nursing Science, 2558; 33(1): 55-65. 12. Bowman, S.F. Emotional intelligence and readiness in performing professional nursing roles among nursing students. Journal of Health Science Research, 2010; 4(2), 47-57. (in Thai)
13. Kusol, K. , Somrak, K. , Thuethong, C. & Hongsum, T. Effects of problem-based learning to
enhance learning outcome in accordance with Thai qualifications framework for higher
education of nursing students in the Subject of Leadership and Nursing Management.
Journal of Nursing and Education, 2017; 10(3): 39-55. (in Thai)
14. Japa, M. Study of learning outcomes according to the Thai Qualifications Framework (TQF) for higher education in nursing community practicum as perceived by students, air force nurses 2012. Air force officer, 2013; 59(2), 37-45. (in Thai)
15. Ozturk, C., Muslu, G.K.,& Dicle, A. A comparison of problem-based and traditional education on nursing students’ critical thinking dispositions. Nursing Education Today, 2008; 28, 627-632.
16. Evan, P. Is there a link between problem-based learning and emotional intelligence?. Kathmandu University Medical Journal, 2009; 7(1) : 4-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย