The Effects of Using Problem- Based Learning for Caring on Maternal and Fetus with Health Problem Related with Pregnancy of 4th Level Nursing Students

ผลการใช้ปัญหาเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนการดูแลมารดาและทารกที่มี ปัญหาสุขภาพเนื่องจากการตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ อาจารย์ประจำ ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • นิจวรรณ วีรวัฒโนดม อาจารย์ประจำ ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ฐิติมา คาระบุตร อาจารย์ประจำ ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • สายฝน อำพันกาญจน์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, มารดาและทารกที่ปัญหาสุขภาพ, นักศึกษา พยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 เกี่ยวกับการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่มีปัญหาสุขภาพเนื่องจากการตั้งครรภ์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหากรณีศึกษา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท จังหวัดชัยนาท ที่กำลังศึกษาวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ที่ได้จากการสุ่มโดยเลือกที่เป็นเลขที่คู่ เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.68, 0.72 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และค่าที (Dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่มีปัญหาสุขภาพเนื่องจากการตั้งครรภ์ ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.052) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหากรณีศึกษาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean = 3.52) 3) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก(Mean = 3.51)ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพ

References

References
1.Office of the National Education Commission.National Education Act,1999(Revised edition2002). Bangkok: The Prime Minister, 2002. (in Thai)
2.Internal Quality Assurance Committee.Internal quality assurance manualfor higher
education. (2nd ed.). Bangkok: Tanapresscompany, 2017.(in Thai)
3.Hsu, L. Developing concept maps from problem-based learning scenario discussions.Issues
and Innovations in Nursing Education, 2004;48(5), 510-518.
4.Neo, M., & Neo, T.K.Engaging students in multimedia-mediated constructivist learning –
students’ perceptions. Educational Technology and Society, 2009;12(2), 254-266.
5.Sungur, S., &Tekkaya, C.Effects of problem-based learning and traditional instruction on
self-regulated learning. The Journal of Educational Research, 2006; 99(5), 307-317.
6.Imanieh, M.H., &Sobhani, A.R. Evaluation of problem-based learning in medical students’
education. Advance Medical Education Prof. Journal, 2014;2(1), 1-5.
7.Phumee, W. The effect of problem-based learning instructions activities on problem solving
ability and mathematical reasoning ability of mathayomsuksa II students. Thesis formaster of education degree in secondary education, Srinakharinwirot University; 2012.(in Thai)
8.Instructors of BoromarajonaniInstitute.Teaching and learning manual for problem-based
learninginBoromarajonanicolleges of nursing.Nonthaburi: Yutarinpress, 2015. (in Thai)
9.Makmee, P. Problem-based Learning.EAU Heritage Journal, 2011;5(1), 7-14.(in Thai)
10.Kanyamee, T., &Thongpoon, C.Problem - based learning on achievement and problem
Solvingabilities in science of mathayomsuksa II students on the topic offood and existence, N355-365.InThe national academic symposium of graduate network in north Rajabhat University, 16.Phetchabun: PhetchabunRajabhat University, 2016. (in Thai)
11.Suwannoi, P. (2015). Problem-based learning: PBL. Documentation for the description in the development of teaching and learning.[online] 2015. (cited 2015 September, 10). Available from: https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.(in Thai)
12.Lekakul, A.Problem-based learning.[online] 2015. (cited 2015 September, 10). Available from:http://teachingresources.psu.ac.th/document/2548/Le_Kha_Kun/PBL.pdf.(in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย