The Effects of Participatory Learning Program on Knowledge and Fundamental Skills of Prevention and Basic Assisted Delivery for Giving Birth Before Arrival among Health Volunteers in Bangkok Metropolitan Region
ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการป้องกันและการช่วยเหลือเบื้องต้น แก่มารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุข, ทักษะการช่วยคลอดบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการป้องกันและการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่มารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร จากศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 30 วัดเจ้าอาม และศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 31 เอิบ- จิตรทังสุบุตรจำนวน 60 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 30 คน และ กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนรู้ โดยการบรรยายก่อนการฝึกทักษะในการป้องกันและการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่มารดาและทารกที่คลอดก่อน ถึงโรงพยาบาล โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีขั้นตอน คือ 1. ขั้นประสบการณ์ 2. ขั้นการสะท้อนความคิดและถกเถียง 3. ขั้นส่งเสริมความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด ผู้วิจัยสรุปความคิดเห็นรวบยอดจากการนำเสนอของกลุ่มแก้ไข และเพิ่มเติมให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและ 4. ขั้นการทดลองหรือประยุกต์แนวคิด ประเมินความรู้และทักษะด้วยแบบประเมินความรู้ และแบบประเมินทักษะการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่มารดา และทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
ภายหลังได้รับโปรแกรมทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้ และทักษะในการป้องกันและ การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่มารดาและทารกที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลก่อนและหลังได้รับโปรแกรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยความรู้อยู่ที่ระดับ (t experimental = 16.00, p < .001 และ t control = 9.05, p < .001 ตามลำดับ) ทักษะอยู่ที่ระดับ (t experimental = 12.38, p = <.001 และ tcontrol= 5.69,p <.001 ตามลำดับ)
กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และทักษะในการป้องกันและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่มารดาและทารก ที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.85 p <.01, t = 4.68 p < .001 ตามลำดับ)
References
1. Kaewkiadtikun, K. Birth before Arrival. In: Thagjitkom S., Kurathong S., Palopakarn C., Sriaon J., Wajanarodjana S., (Editor). URBABLOGY FOR URBAN COMMUNITY. Bangkok: Text and Journal Publication; (2016). 125-135 (in Thai)
2. Government of Western Australia North Metropolitan Health Service. Born Before Arrival (BBA): Planned Homebirth;1-3(in Australia)
3. Chiragdin, T. Effect of Giving Birth Before Arrival (BBA) on Pregnancy Outcome among booked Mothers atCoast Provincial and General Hospital (CPGH). As part of Fulfilmentfor The Degree of Master of Medicine in Obstetrics and Gynaecology, University of Nairobi,February; 2013.(in Kenya)
4. Alabi, AA., O’Mahony, D., Wright, G. and Ntsaba, MJ.Why are babies born before arrival at health facilities in King SabataDalindyebo Local Municipality, Eastern Cape, South Africa? A qualitative study.Articles from African Journal of Primary Health Care & Family Medicine are provided here courtesy of AOSIS, 2015; 7(1),1-9.(in South Africa)
5. Vibulwong, P. Birth before arrival.BoromarajonaniColleqe of Nursing, Bangkok; 2015. (in Thai)
6. Watanawili, C. Emergency Women Nurse in Antenatal and Intrapartum. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2015. (in Thai)
7. Department of Mental Health. Ministry of Public Health, Bangkok: Vongkamon Production Printing House; 2001. (in Thai)
8. Sanprasan, P., Wattradul, D., Puapairoj, V., ,Jamsomboon, K., Techangkul, L. &Yuyuen, Y. Effects of Health Voluntreer’s Capacity Building based on Particpating Learning Program on knowledge and Skill of Caring Patients with Cardiovascular Disease and Risk Group of Cardiovascular Disease. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 2015; 26(1),119-132. (in Thai)
9. Vonglek, R. The Effect of Participatory Learning on Knowledge Attitudes and Parctice of Community Leaders in Prevention of Dengue Hemorrhagic Fever of Klong-Cha-NuanSubdistrict, Weingsra District, Suratthani Province. Journal of Community Health Development Quarterly KhonKaenUniversity, 2015; 3(2): 273-291. (in Thai)
10. Community Public Health Health Promotion Division.Practical in Proactive Public Health for health volunteer. Bangkok: The Agricultural Co-operating Federation Printing House of Thailand., Ltd; 2013. (in Thai)
11. National Institute for Emergency Medicine.Emergency Medicine Master plan: Bangkok;Union creation., Ltd; 2016 (in Thai)
12. Siriphan, S.Wongsuwan, W., &Namuang, A., Teaching Method Approach with graphical Techniques and Contemporary Information to Improve Student Achievement.Princess of NaradhiwasUniversityJournal of Humanitics and Social Science, 2014; 1(1): 12-20
13. Suapumee, N. Chittayanunt, K. Wongrattanarak, W. &Naksrisang, W. Effectiveness of the Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Program in Community using a Participatory Learning Process. Nursing Journal of the Ministry of Public Health.2515; 25-39. (in Thai)
14. Dejthongjun, S.The Study on Development of Learning Effectiveness of Students in Local Subject : A Comparison of the Learning Effectiveness Using STAD (Student Teams Achievement Division) and Lecture.[dissertation]. Dhurakij Pundit University: Bangkok:2015 (in Thai)
15. Therawiwat, M. Nimsuwan, P. Imamee, N. The Effectiveness of a Community Participatory Learning Program for Avian Influenza Prevention, Mueang District, Nakhonsawan Province. Journal of Health Education, 2007; 30(105) : 45-60.