การศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชนพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 375 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2567 โดยใช้แบบประเมินภาวะเปราะบาง Edmonton Frail scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 238 ราย คิดเป็นร้อยละ 63.5 มีอายุ 60-69 ปี จำนวน 155 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.3 ส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา จำนวน 263 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.1 มีสถานภาพสมรส จำนวน 268 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.5 และยังทำงาน จำนวน 193 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.5 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.9 และส่วนใหญ่อยู่อาศัยกับคู่สมรสและลูกหลาน จำนวน 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.1 ไม่มีประวัติหกล้มจำนวน 345 ราย คิดเป็นร้อยละ 92 และไม่มีข้อเข่าเสื่อม จำนวน 287 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 มีความชุกของภาวะเปราะบาง คิดเป็นร้อยละ 13.6 และพบว่า อายุ สถานภาพสมรส การทำงาน รายได้ การอยู่อาศัย การหกล้ม และภาวะข้อเข่าเสื่อม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีส่วนสำคัญในการกำหนดภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุมากขึ้น สถานภาพทางเศรษฐกิจต่ำ และมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง มีแนวโน้มที่จะมีภาวะเปราะบางสูง ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, & คณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุพื้นที่ชุมชนตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(10), 184-194.
คณิตา ทองเนื้อแปด, สุภัชฌา เก่งพานิช, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ และ กษิดิศ หล้าวงษา. (2567). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการ ณ แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 7(2), 1-11.
ชนัดดา อนุพัฒน์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และศริยามน ติรพัฒน์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(1), 43-54.
ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์, สุนันทา ครองยุทธ์, สุดารักษ์ ประสาร และอรทัย บุญชูวงศ์. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 34(1), 188-201.
ณิชารีย์ สำเนียง. (2567). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเปราะบางทางกายภาพในผู้สูงอายุ คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 15(1), 76-93.
นงลักษณ์ กลิ่นพุดตาน, สิชล ทองมา, นันทิกานต์ กลิ่นเชตุ และวีรยุทธ ศรีทุมสุข. (2565). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีภาวะเปราะบาง. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(2), 50-57.
ประกายมาศ เนตรจันทร์, รัตน์ศิริ ทาโต และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านพักคนชราของภาครัฐ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(1), 61-72.
ลลิตา ทรงอภิวัฒน์กุล, วัฒโรชา ทองโตนด, วนิดา เยส่อง และ อรัญญา นามวงศ์. (2566). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 10(2), 242-255.
วิธวัช พ่อท้าว, อินทิรา รูปสว่าง และสุภาพ อารีเอื้อ. (2567). ความชุกของภาวะเปราะบางและความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 39(4), 519-535.
สุพรรณี ใจดี และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2560). การศึกษาภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน กรุงเทพมหานคร. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 117-135.
Das S. (2022). Cognitive frailty among community-dwelling rural elderly population of West Bengal in India. Asian journal of psychiatry, 70, 103025. https://doi.org/10.1016/j.ajp.2022.103025
Dent, E., Martin, F. C., Bergman, H., Woo, J., Romero-Ortuno, R., & Walston, J. D. (2019). Management of frailty: opportunities, challenges, and future directions. The Lancet (London, England), 394(10206), 1376–1386. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(19)31785-4.
Düzgün, G., Üstündağ, S., & Karadakovan, A. (2021). Assessment of Frailty in the Elderly. Florence Nightingale journal of nursing, 29(1), 2–8. https://doi.org/10.5152/FNJN.2021.414736.
Rohrmann S. (2020). Epidemiology of Frailty in Older People. Advances in experimental medicine and biology, 1216, 21–27. https://doi.org/10.1007/978-3-030-33330-0_3
Rolfson, D. B., Majumdar, S. R., Tsuyuki, R. T., Tahir, A., & Rockwood, K. (2006). Validity and reliability of the Edmonton Frail Scale. Age and ageing, 35(5), 526–529. https://doi.org/10.1093/ageing/afl041
Veronese, N., Custodero, C., Cella, A., Demurtas, J., Zora, S., Maggi, S., Barbagallo, M., Sabbà, C., Ferrucci, L., & Pilotto, A. (2021). Prevalence of multidimensional frailty and pre-frailty in older people in different settings: A systematic review and meta-analysis. Ageing research reviews, 72, 101498. https://doi.org/10.1016/j.arr.2021.101498
Ye, B., Li, Y., Bao, Z., & Gao, J. (2024). Psychological Resilience and Frailty Progression in Older Adults. JAMA network open, 7(11), e2447605. https://doi.org/10.1001/jamanetworkopen.2024.47605