การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการเกิดปัญหาภัยธรรมชาติและสุขภาพชุมชนในประเทศไทย

Main Article Content

พิทักษ์พล พิธาคำ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากหลายประเทศได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย แม้ว่าปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่สำหรับคนไทยเองหลายคนยังไม่เข้าใจและมีความสับสนอยู่ไม่น้อย


ในบทความนี้จึงพิจารณาให้เห็นถึงสาเหตุการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อต่อการเกิดปัญหาภัยธรรมชาติและสุขภาพชุมชน และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทย  ได้วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเกิดภัยธรรมชาติและสุขภาพของชุมชน และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหา โดยจุดมุ่งหมายหลักของบทความนี้คือการสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้และการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการรับมือกับปัญหานี้ โดยมุ่งเน้นที่การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่ประชาชนทั่วไป การชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในบริบทของประเทศไทยและการสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมอนามัย. (2566). สัมมนาวิชาการ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ. ณ โรงแรม ทีเค พาเลช แอนด์คอน

เวนชัน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร.

กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์. 2566, 23 ตุลาคม ). แก้โจทย์ Climate Change ให้โลกอยู่ได้ คนอยู่รอด. https://tdri.or.th/2023/10/interview-climate-change/

กรองจิต กิติกาศ และผกามาศ ถิ่นพังงา (ม.ป.ป.). งานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. น. 1-14. https://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/research-47.pdf

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2558). แนวทางการประเมินความเปราะบางและการปรับตัวด้านสุขภาพ

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. (พิมพ์ครั้งที่1).

https://hia.anamai.moph.go.th/webupload/12xb1c83353535e43f224a05e184d8fd75a/m_ma gazine/35644/2884/file_download/aee9a69a9f26210ea123dfd6eb93dcef.pdf

คณะที่ปรึกษาของสภาความมั่นคงแห่งชาติด้านความมั่นคงภายในและระหว่างประเทศ. (2565). การเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศและผลกระทบในมิติด้านความมั่นคง. วารสารมุมมองความมั่นคง, (9), 1-18 สืบค้นจาก https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/Journal/article-00901.pdf

คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลวิชาการด้านประชาคมอาเซียนของรัฐสภา. (ม.ป.ป.). การดำเนินการของประเทศสมาชิก

อาเซียนด้านมลพิศจากหมอกควันข้ามแดน. บทความวิชาการ. น. 1-36. https://web.parliament.go.th/assets/portals/61/filenewspar/61_974_file.pdf

ไทย พีบีเอส (2566, 28 มีนาคม). ยูนิเซฟรายงานพบเด็กไทยเผชิญ “ความเสี่ยงสูง” จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. https://www.thaipbs.or.th/news/content/326056

พิมนารา อินต๊ะประเสริฐ. (2564, 28 สิงหาคม). SDG Insights | ท่ามกลางวิกฤติสภาพภูมิอากาศ. ระบบสุขภาพไทยต้อง

รับมือกับอะไรบ้าง. SDG MOVE. https://www.sdgmove.com/

รวิพร วามานนท์. (2564, 28 กุมภาพันธ์). ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์จากภาวะโลกร้อน. https://kindconnext.com/kindworld/5-ways-climate-change/

สหประชาชาติประเทศไทย. (2565ม 12 มีนาคม).สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. https://shorturl.asia/r60pm

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564, 21 เมษายน). SDGs คือ

อะไร มารู้จัก 5 เป้าหมายแรกจากมิติสังคม. https://www.nxpo.or.th/th/8081/

เอกวิทย์ เตระดิษฐ์. (2564, 6 พฤศจิกายน). ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. มูลนิธิสืบ นาคะ

เสถียร. https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/climate-crisis/

Alessandra Potenza. (14/04/2018). หลากปัญหาสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. มูลนิธิสืบ นาคะ

เสถียร. https://shorturl.asia/n1CRh