ผลการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติ

Main Article Content

จุฬามณี คุณวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลต่อผลการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชนหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมซึ่งเป็นตัวแทนจากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งสิ้นจำนวน 539 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนี IOC (ความตรงของเนื้อหา) เท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และผลการศึกษาปรากฏดังต่อไปนี้


  1. ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชนหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมที่มีหน้าที่รับผิดชอบการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลระดับ F2 (ร้อยละ 50.28) รองลงมาคือ โรงพยาบาลระดับ M2 (ร้อยละ 11.69)

  2. ความคิดเห็นของพยาบาลต่อการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวสู่การปฏิบัติโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (= 3.90, S.D. = 0.60) โดยเห็นด้วยมากที่สุดในหัวข้อ “กระบวนการบริการพยาบาลในรูปแบบการบริการพยาบาลเชิงรุกในชุมชนของการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว สามารถปฏิบัติได้

 (= 4.11, S.D. = 0.62)และเห็นด้วยน้อยที่สุดในหัวข้อ “ปัจจัยนำเข้าด้านการเงิน ของการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว สามารถปฏิบัติได้ (= 3.43, S.D.= 0.73)”


  1. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำแนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว สู่การปฏิบัติมีดังนี้ 1) สามารถปฏิบัติได้ อาจต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ 2) การจัดบริการต้องขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่เป็นหลัก 3) นำไปใช้ได้จริงแต่ต้องบูรณาการกับบริบทของแต่ละพื้นที่ 4) โครงสร้างและสถานที่จัดบริการ PCC ควรมีการเตรียมความพร้อมทุกที่ก่อนเปิดให้บริการ 5) ควรมีการจัดประชุมเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัวอย่างต่อเนื่อง 6) ควรจัดสรรเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ เหมาะสมและอุปกรณ์เครื่องมือ ถ้าหากมีการจัดสรรที่เป็นไปตามคู่มือ จะทำให้งานดำเนินไปด้วยดี ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรพร สถิรอังกูร, & คณะ. (2560). แนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster).

สื่อตะวัน.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2559). มาตรฐานการพยาบาลในชุมชน. สื่อตะวัน.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อักษรศิลป์การพิมพ์.

อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, ศิริมา ลีละวงศ์, พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์. (2563). รายงานการพัฒนาโครงการ: การพัฒนาระบบการ

จัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว. วารสารกองการพยาบาล, 47(3), 71-90.

American Nurse Association. (2016). The National Database of Nursing Quality Indicators. https://www.nursingworld.org/MainMenuCatagories

Creswell, J. W. (2013). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches (3rd ed.). SAGE Publications.

Kumar, R. (2014). Research methodology (4th ed.). SAGE Publications.

Lynch, T. (1996). DS9 trials and tribble-actions review. Bradley University. https://www.bradley.edu/campusorg/psiphi/DS9/ep/503r.html