ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเมินประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพดังกล่าว โดยกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 355 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล รองลงมาคือ ด้านมาตรการในการดำเนินงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความถูกต้องครบถ้วน รองลงมาคือ ด้านการตรวจสอบและติดตาม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านความคุ้มค่าของค่าใช้จ่าย/ต้นทุน และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความรู้เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ด้านบุคคล ด้านการให้บริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
References
กลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลหาดใหญ่. (2567). รายงานสรุปผลการดำเนินงานจัดเก็บรายได้ค่า
รักษาพยาบาลปีงบประมาณ 2566 - 2567 [Google Sheets]. https://docs.google.com/spreadsheets/d/1xwmm_njoXN37A7ZahpwHx0dHITJa7Sm4BwN3jKK-yhY/edit?gid=1317985422#gid=1317985422
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563
[รายงานประจำปี]. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บริษัทคิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
คณัชฌา สิทธิบุศย์และคณะ. (2558). การพัฒนางานจัดเก็บรายได้โรงพยาบาล ในสถาบันบำราศนราดูรด้วยการมี ส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติจากทุกหน่วยบริการ ปีงบประมาณ 2558. วิทยานิพนธ์ภาควิชาบริหารงาน สาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่13). เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
ทรงสิทธิ์ ประสานศักดิ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต
จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ประภาศิริ ศิริบำรุง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ
โกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม.
รุ้งไพลิน บุญหล้า. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดลพบุรี.
วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วารินทร์ อาจใย. (2563). พัฒนาระบบการติดตามหนี้ค้างชาระค่ารักษาพยาบาลในระบบ e-Phis: บทความฉบับเต็ม.
Thailand Quality Conference, 2021.
วาสนา จังพานิช. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลกลุ่ม
อำนวยการ โรงพยาบาลหัวหิน. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ(สสส.).
สุชาดา ภัยหลีกลี้. (2566). ระบบการเงินการคลังสุขภาพ. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research. John Wiley & Sons, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row Publishers.